การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของของชนเผ่ามลาบรี กรณีศึกษา : มันป่าบริเวณศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตขุนน้ำสะเนียน-ห้วยลู่ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

Main Article Content

เชิดศักดิ์ ทัพใหญ่
มานะ จิตฤทธิ์
เทพณรงค์ ยะสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของมันป่าและการใช้ประโยชน์เบื้องต้นโดยชนเผ่ามลาบรีในจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงชนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และการใช้ประโยชน์เบื้องต้นของมันป่า ที่พบในพื้นที่ป่าธรรมชาติ บริเวณศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตขุนน้ำสะเนียน-ห้วยลู่ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยการสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชระหว่างเดือนตุลาคม 2557 – กรกฎาคม 2559 ผลการศึกษาพบมันป่า 7 ชนิด จำแนกตามความรู้และ ประสบการณ์ของชาวมลาบรี ออกเป็นชนิดพันธุ์ที่กินได้ 5 ชนิด ได้แก่ ไกว (Diosocrea alata L.) ทรูด (D. decipiens Hook.f.) จ่ะแร๊ก (D. glabra Roxb.) ม่ะ (D. hamiltonii Hook.f.) และ กะทาด (D. wallichii Hook.f.) กินไม่ได้ 2 ชนิด ได้แก่ ม่ะกู๊ด (D. bulbifera L.) และ กะโท่ (D. pentaphylla L.) การใช้ประโยชน์ของหัวมันส่วนใหญ่จะต้องทำให้สุกด้วยความร้อนด้วยการเผาหรือหลามในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนรับประทาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กัญจน์ชญา เม้าสิ้ว และจรัณธร บุญญานุภาพ. 2557. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ และผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุนตอนล่าง จังหวัดน่าน. วารสารวนศาสตร์ 33 (2): 131-148.
คมกริช เศรษบุบผา และดวงใจ ศุขเฉลิม. 2522. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวมูเซอดำบ้าน ห้วยปลาหลด ตำบลแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวนศาสตร ์28 (1): 29-39.
นเรนทร์ จินะรักษ์. 2555. ทัศนคติชนเผ่ามลาบรีกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในจังหวัดน่าน. รายงานการวิจัยกระบวนการวิชาแบบฝึกหัดการวิจัย ปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หมื่นวลี. 2537. ผีตองเหลือง (Phi Tong Luang: The Malabri Hilltribe). สำนักพิมพ์รวมสาสน์. กรุงเทพฯ.
ศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ขุนน้ำสะเนียน-ห้วยลู่ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559. ข้อมูลประชากรมลาบรี หมู่ที่ 5 ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. เอกสารเผยแพร่ศูนย์เรียนรู้ฯ.
Chayamarit, K. 1992. Poisinous Plant in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 19: 31-99.
Coursey, D.G. 1967. Yams: an account of the nature, origins, cultivation and utilization of the useful member of the Dioscoreaceae. Longmans, London.
Flatz, G. 1963. The Mrabri: Anthropometric Genetic and Medical Examination. Journal of Siam Society 2: 161-177.
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Gistda). 2016. Map of Khun Nam Sanien-Huay Loo Learning Centre, Muang District, Nan Province. Available sources: http://terminal.gistda.or.th, July 20, 2016.
Laurent, C. 2001. The Mrabri in Laos: a world under the canopy. White Lotus, Bangkok.
Thapyai, C. 2004. Taxonomic Revision of Dioscoreaceae in Thailand. Ph.D. Thesis, Kasetsart University.
Wilkin, P. and C. Thapyai. 2009. Dioscoreaceae. Flora of Thailand 10 (1): 1-140.