การศึกษาชีพลักษณ์ของพืชกลุ่มบุกบอนในเรือนเพาะชำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
พืชวงศ์บุกบอนจำนวน 23 ชนิด ได้แก่ สกุล Amorphophallus 15 ชนิด Aglaonema, Alocasia, Arisaema, Colocasia, Hapaline, Pycnospatha, Remusatia และ Typhonium สกุลละ 1 ชนิด จากแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ ถูกนำมาปลูกเลี้ยงในเรือนเพาะชำของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551–พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พบว่าพืชแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการเติบโตของลำต้นและกิ่งก้าน การออกดอก และการพักตัวที่แตกต่างกัน โดยพบการออกดอกของพืชในสภาพปลูกเลี้ยง 21 ชนิด และไม่พบการติดผลของพืชทุกชนิด พืชเกือบทุกชนิดมีการสร้างหัวใหม่ บางชนิดมีการเติบโตและขยายขนาดของหัว บางชนิดมีการสร้างหัวย่อยขนาดเล็กเจริญออกมาจากหัวเดิม หรือสร้างหัวย่อยบนก้านใบ ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการปรับสภาพเรือนเพาะชำให้เหมาะสมต่อการวางแผนการวิจัยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา และกายวิภาคของพืชแต่ละชนิดต่อไป
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ทิวธวัช นาพิรุณ, ดวงใจ ศุขเฉลิม, สรัญญา วัชโรทัย และ ทัศเนศวร์ เพชรคง. 2556. อนุกรมวิธานและพฤกษเคมีของพืชบุกบอนบนดินในอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวนศาสตร์ 32 (ฉบับพิเศษ): 71-84.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2559. น้ำฝน อุณหภูมิ. แหล่งที่มา: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/ statseries27.html, 27 มีนาคม 2559.
อรพรรณ ศังขจันทรานนท์, สหณัฐ เพชรศรี, ชัยยา ห้วยหงษ์ทอง และ ดวงใจ ศุขเฉลิม. 2556. การเติบโตของบุกคนโทที่งอกจากหัวย่อยบนก้านใบในสภาพปลูกเลี้ยงในเรือนเพาะชำ. วารสารวนศาสตร์ 32 (ฉบับพิเศษ): 60-70.
Boyce, P. C., D. Sookchaloem, W. L. A. Hetterscheid, G. Gusman, N. Jacobsen, T. Idei and N. V. Du. 2012. Araceae. Flora of Thailand 11 (2): 101-321.
Dominic, V. J. 2012. Biosystematic studies in the genus Anaphyllum Schott (Araceae) of Western Ghats. Int. J. Life Sc. Bt. & Pharm. Res. 1 (3): 161-170.
Gilbernau, M. 2003. Pollinator and visitors of aroid inflorescences. Aroideana 26: 66-83.
Gilbernau, M., M. Chouteau, K. Lavallée and D. Barabé. 2010. Notes on the phenology, morphometry and floral biology of Anaphyllopsis americana (Araceae). Aroideana 33: 183-191.
Hetterscheid, W. L. A. 2012. Amorphophallus. Flora of Thailand 11 (2): 130-186.
International Aroid Society, Inc. 2012. The Genera of Araceae. The International Aroid Society. Available Source: http://www.aroid.org/ genera/, September 4, 2012.
International Union for Conservation of Nature and Natural Resources (IUCN). 2015. The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2015-4. Available Source: http:// www.iucnredlist.org, April 7, 2015.
Jaleel, V.A., M. Sivadasan, A. H. Alfarhan, J. Thomas and A. A. Alatar. 2014. Rivision of Amorphophallus Blume ex Decne. Sect. Amorphophallus (Araceae) in India. Bangladesh J. Plant Taxon. 21(2): 105-120.
Kew, Royal Botanic Gardens. 2015. Pseudodracontium. World Checklist of Selected Plant Families. Available Source: http://apps.kew.org/wcsp/ qsearch.do, August 24, 2015.
Mayo, S.J., J. Bogner and P.C. Boyce. 1998. The genera of Araceae project. Acta Botanica Yunnanica 10: 4-11.
Méndez, M. and J. R. Obeso. 1993. Size-dependent reproductive and vegetation allocation in Arum italicum (Araceae). Can. J. Bot. 71: 309-314.
Ollerton, J. and A. Diaz. 1999. Evidence of stabilizing selection acting on flowering time in Arum maculatum (Araceae): the influence of phylogeny and adaptation. Oecologia 119: 340-348.
Sahunalu, P. 2010. Relationship between Climatic Condition and Plant Community along the altitudinal gradients in Doi Inthanon National Park. Research Report Number BGJ4380025 Thai Research Fund.
Sakurakui, C., L.S.B. Calazans, E.B. Morais, M. Nardus and M.O.O. Pellegrini. 2011. Diversity and conservation of Philodendron Schott (Araceae) in Atlantic Forest of Rio de Janeiro State, Brazil. Feddes Repertorium 122 (78): 472-496.
Sungkajanttranon, O. and D. Sookchaloem. 2014. Study of type and shape of leaf blade crystals and idioblasts in Amorphophallus and Pseudodracontium (Araceae) grown in greenhouse condition. Thai J. Bot. 6 (Special Issue): 95-101.