การเปรียบเทียบลักษณะทางนิเวศวิทยาและผลตอบแทนของสวนยางพาราเชิงเดี่ยวและวนเกษตร ของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ได้ดำเนินการ ณ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในพื้นที่สวนยางพาราอายุ 21 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางนิเวศวิทยา และผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ของสวนยางพาราเชิงเดี่ยวกับวนเกษตรโดยการวางแปลงตัวอย่างเพื่อศึกษาลักษณะทางนิเวศ และการใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาผลตอบแทนโดยวิเคราะห์ค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR)
ผลการศึกษา พบว่าสวนยางพาราในระบบวนเกษตรมีลักษณะทางนิเวศวิทยาที่หลากหลายกว่า กล่าวคือ สวนยางพาราเชิงเดี่ยวมีชั้นเรือนยอด 3 ชั้นในขณะที่ยางพาราในระบบวนเกษตรมีชั้นเรือนยอดที่ลดหลั่นกัน 4 ชั้น มวลชีวภาพรวมของไม้ยืนต้นของสวนยางพาราเชิงเดี่ยว และระบบวนเกษตรมีค่าเท่ากับ 22.30 และ 45 ตันต่อไร่ สำหรับค่าใช้จ่ายการผลิตรวม 21 ปี มีค่าเท่ากับ 157,426.48 และ 166,492.68 บาทต่อไร่ มีรายได้เท่ากับ 273,508.20 และ 339,747.96 บาทต่อไร่ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิรวม (NPV) ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 เท่ากับ 32,455.44 และ 51,978.53 บาทต่อไร่ และมีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับร้อยละ 21 และ 23.45 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช. 2537. ลักษณะโครงสร้างปริมาณการร่วงหล่นและอัตราการสลายตัวของซากพืชในระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล. 2536. แนวความคิดของการใช้วนเกษตรในสวนยางพารา ที่ระยอง. วารสารวนศาสตร์ 12 : 159-167.
วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2557. เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้. ภาควิชาการจัดการป่าไม้. คณะวนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Buakla, J. 2007. Plant Diversity and Soil Properties in Small Hollding Rubber – Based Agroforest Plantations in Phatthalung and Nakorn Si Thammarat Provinces. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok.
Ogawa, H., K. Yoda, T. Kira, K. Ogino, T shidei, R.Ratanawongase and C. Apasutaya. 1965. Comparative ecological studuies on three main type of forest vegetation in Thailand I. Structure and Floristic Composition. Nature and Life in Southeast Asia. 4: 13-48.
Tsutsumi, T., K. Yoda, P. Sahunaru, P. Dhanmanonda and B. Prachaiyo. 1983. Forest: felling burning and regenation. In K. Kyuma and C. Pairintraeds (eds.). Shifting Cultivation :An Experiment at Nam Phrom, Northeast Thailand and Its Implications for Upland Farming in the Monsoon Tropics. A report of a cooperative research Thai-Japanese universities.