มูลค่าการบริการของระบบนิเวศของดินบริเวณพื้นที่แหล่งต้นน้ำ ที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่มในตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณมูลค่าการบริการเชิงนิเวศของดินที่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ดินถล่มภายใต้ระบบนิเวศหลัก 3 ประเภท บริเวณแหล่งต้นน้ำของตำบลแม่พูล ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเบญจพรรณผสมไผ่ และสวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตร โดยมุ่งเน้นในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการบริการของระบบนิเวศของดินในด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน การกักเก็บน้ำในดิน และปริมาณเนื้อดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในการถมที่และก่อสร้าง ทั้งนี้ สถานการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่มของระบบนิเวศอยู่ภายใต้สภาวะการทดแทนทางนิเวศวิทยาแบบทุติยภูมิในระยะที่เป็นสังคมระหว่างการทดแทนภายหลังจากเหตุการณ์ดินถล่มเป็นระยะเวลา 9 ปี ผลการศึกษาพบว่า ระบบนิเวศสวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตรมีมูลค่าการบริการของระบบนิเวศของดินรวมสูงที่สุด เท่ากับ 288,328.37 บาทต่อไร่ หรือ 1802052.3125 บาทต่อเฮกตาร์ รองลงมา ได้แก่ ป่าเบญจพรรณผสมไผ่ ป่าเบญจพรรณ สวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตรที่เกิดดินถล่ม ป่าเบญจพรรณผสมไผ่ที่เกิดดินถล่ม และป่าเบญจพรรณที่เกิดดินถล่ม มีมูลค่าเท่ากับ 264,870.74 246,642.03 244,452.19 166,726.48 และ 144,232.73 บาทต่อไร่ ตามลำดับ หรือ 1,655,442.12 1,541,512.69 1,527,826.19 1,042,040.50 และ 901,454.56 บาทต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ผลต่างระหว่างมูลค่าการบริการของระบบนิเวศของดินภายใต้สถานการณ์ปกติและที่เกิดดินถล่ม พบได้อย่างชัดเจนในระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ โดยมีมูลค่าความต่างเท่ากับ 102,409.30 บาทต่อไร่ หรือ 640,058.12 บาทต่อเฮกตาร์ รองลงมาได้แก่ ป่าเบญจพรรณผสมไผ่ และสวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตร (98,144.26 บาทต่อไร่ หรือ 613,401.62 บาทต่อเฮกตาร์ และ 43,876.18 บาทต่อไร่ หรือ 274,226.12 บาทต่อเฮกตาร์) ตามลำดับ ทั้งนี้ ป่าเบญจพรรณผสมไผ่มีการความต่างมูลค่าด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน และด้านการเก็บกับน้ำในดินสูงที่สุด เท่ากับ 27,324.74 หรือ 170,779.62 บาทต่อเฮกตาร์ และ 2,043.45 บาทต่อไร่ หรือ 12,771.56 บาทต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ขณะที่ป่าเบญจพรรณมีมูลค่าความต่างด้านปริมาณเนื้อดิน เพื่อการใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างสูงที่สุดเท่ากับ 91,489.27 บาทต่อไร่ หรือ 571,807.94 บาทต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่แตกต่างกันของการบริการของระบบนิเวศของดินในบริเวณแหล่งต้นน้ำระหว่างสถานการณ์ปกติและที่เกิดดินถล่ม ทั้งนี้ การพัฒนากรอบการดำเนินงานที่ครอบคลุมในการประเมินเชิงเศรษฐศาสตร์ของการบริการของระบบนิเวศของดินเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการตัดสินใจระดับท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้นสำหรับการจัดการทรัพยากรที่ดินในพื้นที่แหล่งต้นน้ำของพื้นที่ศึกษา
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ชุติมา จันทร์เจริญ, พัฒน์พงษ์ เกิดหลำ, ทรายแก้ว อนากาศ, พิลาสลักษณ์ ลุ่นลิ่ว และ สาธิต กาละพวก. 2556. การเปรียบเทียบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามภูมิปัญญาชาวบ้านกับการใช้ปุ๋ยตามหลักวิชาการเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของทุเรียนในตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานผลการวิจัย. กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงาน พัฒนาที่ดินเขต 8. กรมพัฒนาที่ดิน. แหล่งที่มา : http://r08.ldd.go.th/KM - 5.htm, 14 กุมภาพันธ์ 2560.
จรัณธร บุญญานุภาพ และ ประสิทธิ์ ทองเล่ม. 2556. การประเมินศักยภาพที่ดินและแนวทางการจัดรูปที่ดินเพื่อกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ และพื้นที่คุ้มครองบริเวณแหล่งต้นน้ำบนพื้นที่ภูเขาสูงชัน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). 81 หน้า.
จรัณธร บุญญานุภาพ, ประสิทธิ์ ทองเล่ม และ แหลมไทย อาษานอก. 2559. การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวิธีเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินสำหรับการป้องกันดินถล่มบริเวณพื้นที่ตำบลแม่พูล: นัยสู่การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มูลนิธิชัยพัฒนา. 285 หน้า.
นิติพัฒน์ นวนมะโน. 2556. การชะล้างพังทลายของดินบนเขาคอหงส์ และมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตสงขลา.
เศรษฐ์สัณห์ มณฑลเพชร, พสุธา สุนทรแก้ว และ วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2556. การประเมินความเสียหายจากการทำลายป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวนศาสตร์ 32 (3) : 22-32.
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล. 2553. ข้อมูลทั่วไป. แหล่งที่มา : http://www.maephun.org/modules.php?name=Downloads, 28 พฤษภาคม 2556.
Boonyanuphap, J. 2013. Cost-benefit analysis of vetiver system-based rehabilitation measures for landslide-damaged mountainous agricultural lands in the lower Northern Thailand. Academic Journal. Natural Hazards; 69 (1): 599.
Kuo, S. 1996. Phosphorus. In: Method of soil analysis. Part Chemical Methods (eds. Sparks, D.L. Page, A.L. Helmke, P.A., Loeppert, R.H., Soltanpour, P.N., Tabatabai, M.A., Johnston, C.T. & Sumner, M.E.), pp. 869-919. Soil. Sci. Soc. America, Inc. and American Soc. Agronomy, Inc., Madison, Wisconsin
Walkley, A. and C.A. Black. 1946. Organic carbon, and organic matter. In D.L. Sparks et al., eds., Methods of Soil Analysis Part 3 Chemical Methods. Soil Sci. Am.J., Madison, WI, USA.