การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นันฑกา กนกะปิณฑะ
สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์
สมนิมิตร พุกงาม
เติมศิริ จงพูนผล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม ระดับการมีส่วนร่วม รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มครัวเรือนตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จาก 23 ชุมชน โดยการคำนวณประชากรตัวอย่างจากสมการคำนวณของ Yamane ได้จำนวนประชากรตัวอย่างทั้งสิ้น 389 ครัวเรือน และทำการกระจายตัวอย่างตามสัดส่วนจากสมการคำนวณของ สุบงกช จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีทางสถิติค่า t-test และ F-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 58.87 มีอายุ 46 – 55 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.31 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 55.27 ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 53.21 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนน้อยกว่า 5 คน คิดเป็นร้อยละ 68.38 เป็นผู้ไม่มีสถานภาพหรือตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 75.32 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 34.19 ประกอบอาชีพค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 37.02 มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 43.44 ประเภทของที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นบ้านพักอาศัยของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 41.39 และ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการทิ้งขยะมูลฝอยจากครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 80.72 โดยระดับความรู้เรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะมูลฝอยของประชากรตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.69)


จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้าน อายุ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน สถานภาพทางสังคมหรือตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม อาชีพ รายได้ และประเภทของที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

Article Details

How to Cite
กนกะปิณฑะ น., ตันธนะสฤษดิ์ ส., พุกงาม ส., & จงพูนผล เ. (2017). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวนศาสตร์ไทย, 36(1), 113–122. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/246911
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ธนันท์เศรษฐ์ ประสิทธิสาร, สันต์ เกตุปราณีต และ วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2557. การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูระงำ อำเภอแวงใหญ่ และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 57-65
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่7. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เพชร นาราษฎร์, สันต์ เกตุปราณีต และไกรสร วิริยะ. 2557. การมีส่วนร่วมของราษฎรในการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านโนนชาด ตำบลดงเค็ง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 66-75
สุบงกช จามีกร. 2526. สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยสังคมศาสตร์. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานปลัดเทศบาลเมืองปากช่อง. 2557. แผนพัฒนาเทศบาลสามปี พ.ศ.2558-2560 เทศบาลเมืองปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา.
สำรวย สุดเฉลียว, สันต์ เกตุปราณีต และปัสสี ประสมสินธ์. 2557. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่่สงวนแห่งชาติป่าดงระแนง อำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร วนศาสตร์ 33 (1): 47-56
อำไพ ทองธีรภาพ. 2554. วิธีการทางสถิติ. บริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด, กรุงเทพฯ.
Cronbach, Lee J. 1970. Essentials of Psychological Testing. New York. Harper and Row Publishers, New York.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.