การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สมนิมิตร พุกงาม
ประสงค์ สงวนธรรม
สุภาภรณ์ ผ่องศาลา

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง ได้ทำการศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันรักษาป่า โดยการวิเคราะห์ทางสถิติหาความสัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ จำนวน 12 ปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการบุกรุก ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มีทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ ระดับความสูง ความลาดชัน ระยะห่างจากเส้นทางถนน ระดับปัญหาการถือครองที่ดิน และป่าเบญจพรรณ จากการวิเคราะห์ พบว่า มีพื้นที่ป่าที่มีระดับความเสี่ยงต่อการบุกรุกต่ำ พื้นที่ป่าที่มีระดับความเสี่ยงต่อการบุกรุกค่อนข้างต่ำ พื้นที่ป่าที่มีระดับความเสี่ยงต่อการบุกรุกปานกลาง พื้นที่ป่าที่มีระดับความเสี่ยงต่อการบุกรุกค่อนข้างสูง และพื้นที่ป่าที่มีระดับความเสี่ยงต่อการบุกรุกสูง มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 34.27, 21.43, 13.00, 15.21 และ 16.09 ตามลำดับ โดยพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการบุกรุกต่ำ คือ พื้นที่ในป่าเต็งรัง ระดับความสูงมาก ความลาดชันสูง ส่วนพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการบุกรุกสูง พบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณเกือบทั้งหมด ความลาดชันต่ำ ใกล้เส้นทางถนน และมีปัญหาการถือครองที่ดินมาก เมื่อตรวจสอบความถูกต้องโดยการซ้อนทับจุดตัวอย่างกับแผนที่ความเสี่ยง พบว่า มีความถูกต้องรวมร้อยละ 81.00

Downloads

Article Details

How to Cite
พุกงาม ส., สงวนธรรม ป., & ผ่องศาลา ส. (2017). การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง. วารสารวนศาสตร์ไทย, 36(1), 123–128. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/246915
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมป่าไม้. 2558. เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทย. แหล่งที่มา: http://forestinfo.forest.go.t, 20 มกราคม 2558.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. 2557. แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐและการบริหารจัดการ. สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2544. การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวด้วย SPSS for Windows. ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2549. สถิติเพื่องานวิจัย. ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ธนันท์เศรษฐ์ ประสิทธิสาร, สันต์ เกตุประณีต และ วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2557. การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูระงำ อำเภอเวียงใหญ่ และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 57-65.