การศึกษาการอาบน้ำยาไม้ยางพาราเพื่อต้านทานไฟด้วยสารประกอบโบรอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตัวยาสารประกอบโบรอนโดยการอาบน้ำยาไม้ยางพาราด้วยสารประกอบโบรอน (กรดบอริก : เกลือบอแรกซ์ ที่ 1:1.5) ความเข้มข้น 1 3 และ 5% มีปริมาณตัวยาแห้งในเนื้อไม้เฉลี่ย 3.17 11.12 และ 19.54 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นร้อยละของปริมาณสมมูลกรดบอริก (%BAE) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.41 1.45 และ 2.54% ตามลำดับ เมื่อไปทำการทดสอบการลุกลามไฟตามมาตรฐาน ISO 3795 ผลปรากฏว่าไม้ยางพาราอาบน้ำยาสารประกอบโบรอนที่ระดับความเข้มข้น 1 3 และ 5% มีอัตราการลุกไหม้เฉลี่ย 21.70 16.94 และ0 มิลลิเมตรต่อนาทีตามลำดับ ส่วนไม้ทดลองเปรียบเทียบมีอัตราการลุกไหม้เฉลี่ย 22.26 มิลลิเมตรต่อนาที จากผลการทดลองแสดงว่าไม้ยางพาราอาบน้ำยาสารประกอบโบรอนที่ระดับความเข้มข้น 5% สามารถต้านทานการลุกไหม้ของไฟได้
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ธีระ วีณิน. ม.ป.ป. ความถ่วงจำเพาะ อุณหภูมิ ความเข้มข้นของไม้ตารางสารละลาย. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธีระ วีณิน. 2559. การคำนวณหาปริมาณตัวยาแห้งในไม้ยางพารา. 8 ทศวรรษ วนศาสตร์ ศาสตร์ แห่งชีวิต. ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อนันตชัย เขื่อนธรรม. 2535. วิธีการทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Findly, W.P.K. 1967. Timber Pests and Disease. Pergamon Press, Rome
Grace, J. K. and R.T. Yamamoto. 1994. Repeated exposure of borate-treated Douglas-fir lumber of Formosan subterranean termites in an accelerated field test. Forest Prod. J. 44(1) : 65-67.
ISO3795. 1989 (E), International standard, Road vehicles, and tractors and machinery for agriculture and forestry-Determination of burning behavior of interior materials. 12 p.
Pattanataiyanon, C., T. Veenin and S. Jarusombuti 2015. Leaching test of furfuryl alcohol and boron compounds in rubber wood. Thai J. For. 35 (1): 98-106