ผลของสารประกอบควอเทอนารีแอมโมเนียม และซิงค์ไพริไทออน ที่มีคุณสมบัติยับยั้งจุลินทรีย์ในกระดาษบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ตัดดอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสารประกอบควอเทอนารีแอมโมเนีย (Quaternary Ammonium Compounds; QAC) และซิงค์ ไพริไทออน (Zinc Pyrithione; ZPT) ที่มีผลต่อคุณสมบัติการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุของโรคเกสรดำในกระดาษบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ตัดดอกโดยทำการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides โดยวิธี Agar well diffusion พบว่า QAC ที่ระดับความเข้มข้น 1.5% และ ZPT ที่ระดับความเข้มข้น 3, 4 และ 5% สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของกระดาษเคลือบต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides โดยใช้สารเคลือบแป้งไฮโดรโฟบิก ที่ระดับความเข้มข้น 8% ผสมกับสารทั้ง 2 ชนิดได้แก่ QAC ที่ระดับความเข้มข้น 2, 4 และ 6% และ ZPT ที่ระดับความเข้มข้น 3, 5 และ 6% บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar โดยวิธี Disc diffusion พบว่า ZPT มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ดีกว่า QAC โดยเฉพาะในระยะเวลาการควบคุมโรควันที่ 5 ซึ่ง QAC และ ZPT มีร้อยละการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ดีที่สุดที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดคือ 15 และ 22% ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ช.ณิฏฐ์ศิริ สุยสุวรรณ. 2545. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ตัดดอก. ประดิพัทธ์, กรุงเทพฯ.
ณัฏฐพิชา ทรัพย์ประทานพร, รังรอง ยกส้าน, เลอพงศ์ จารุพันธ์ และธัญญารัตน์ จิญกาญจน์. 2553. ผลของความเข้มข้นและชนิดของสารเคลือบพอลิเมอร์ชีวภาพต่อสมบัติของแผ่นกระดาษลูกฟูก, น. 499-507. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 (สาขาอุตสาหกรรมเกษตร). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปวีณา อุตะมะติง. 2554. ประสิทธิภาพการใช้เชื้อรา Trichoderma virens และแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสบนผลพริกชี้ฟ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ทัศนาพร ทัศคร และธารทิพย ภาสบุตร. 2554. การป้องกันกำจัดโรคดอกจุดสนิมของกล้วยไม้ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Curvularia eragrostidis โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และ สารเคมี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 248-293.
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, จงวัฒนา พุ่มหิรัญ, คุรุวรรณ ภามาตย์, ยงยุทธ คงซ่าน, สากล วีริยานันท์ และวัชรี วิทยวรรณกุล. 2552. การวิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม. วารสารวิชาการเกษตร 30 (1): 23-38.
วราภรณ์ สุทธิสา, ภานุวัฒน์ เทพคำราม, วัชรา กาญจนรัช และพนิดา อริมัตสึ. 2557. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum sp. สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของมะม่วง. แก่นเกษตร 42 (1) (พิเศษ): 665-670.
วัชรี วิทยวรรณกุล, ทัศนาพร ทัศคร และธารทิพย ภาสบุตร. 2555 . การควบคุมโรคเกสรดำในกล้วยไม้สกุลหวายหลังการเก็บเกี่ยว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3) (พิเศษ): 584-587.
วาริน อินทนา, มนตรี อิสรไกรศีล, ศุภลักษณ์ เศรษฐสกุลชัย. ประคอง เย็นจิตต์ และทักษิณ สุวรรณโน. 2550. ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ฮาซิเอนั่ม สายพันธุ์กลายในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยและลดปริมาณเชื้อราไฟทอพทอร่า พาล์มมิโวร่าใน สวนทุเรียน. วิทยาสารกำแพงแสน 5 (3): 1-9.
วิชัย ก่อประดิษฐ์สกุล, และชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล. 2548. ฤทธิ์ของสารสำคัญจากพืชสมุนไพรในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง: 57 หน้า.
ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ผู้เผยแพร่). 2558. สถิติส่งออกดอกกล้วยไม้สด 2554-2558. (ไฟล์ข้อมูล). ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (ผู้เผยแพร่). 2558. การส่งออกสินค้าสำคัญเรียงตามมูลค่าปี 2554-2558. (ไฟล์ข้อมูล). กรุงเทพฯ.
สุภาวดี ธีรธรรมากร และศุภณี เรียบเลิศหิรัญ. 2558. แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ในอนาคตและสารต้านจุลินทรีย์สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร, ใน รายงานการเข้าร่วมสัมมนา ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยในงาน Food Pack Asia 2015. 5-8 กุมภาพันธ์ 2558. กรุงเทพฯ.
สุวรรณี แทนธานี, จารวี สุขประเสริฐ, สายจิต ดาวสุโข และโสรญา รอดประเสริฐ. 2557. การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดว่านน้ำในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคผลเน่าที่แยกได้จากผลลิ้นจี่. Bulletin of Applied Sciences (3): 1-9.
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองไมอามี กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพานิชย์. ม.ป.ป.. รายงานสภาวะสินค้ากล้วยไม้ตัดดอก Cut Orchids. แหล่งที่มา: http://www.ditp.go.th/contents_attach/73709/73709.pdf, 21 มิถุนายน 2558
International Standard ISO 534. 2005. Paper and board Determination of thickness, density and specific volume. 3rd ed. Case postale 56, CH-1211, Genneva 20, Switzerland.
International Standard ISO 536. 1995. Paper and board - Determination of grammage. 2nd ed. Case postale 56, CH- 1211, Genneva 20, Switzerland.
International Standard ISO 3037. 2007. Corrugated fibreboard - Determination of edgewise crush resistance (unwaxed edge method). 4th ed. Case postale 56, CH-1211, Genneva 20, Switzerland.
International Standard ISO 7263. 2011. Corrugated medium – Determination of the flat crush resistance after laboratory fluting. 4th ed. Case postale 56, CH-1211, Genneva 20, Switzerland.