ผลของระดับการรบกวนพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อองค์ประกอบชนิดมด ในสวนสาธารณะพระนคร กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของระดับการรบกวนพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อองค์ประกอบชนิดมด บริเวณพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่างกันของพื้นที่สวนสาธารณะพระนคร กรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2557 และเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2557 เพื่อศึกษาความหลากชนิด ความมากมาย การกระจาย การปรากฏของชนิดมด และอันตรายที่เกิดจากมด ทำการศึกษาบริเวณพื้นที่การใช้ประโยชน์ทั้ง 8 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone A มีกิจกรรมของมนุษย์ พื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone B ไม่มีกิจกรรมของมนุษย์ พื้นที่พักผ่อน พื้นที่ออกกำลังกาย พื้นที่จัดสวน พื้นที่สนามหญ้า พื้นที่จอดรถ และพื้นที่ฟุตบาท โดยใช้วิธีวางกับดักเหยื่อทูน่าและน้ำหวาน แต่ละพื้นที่ทำการวางเหยื่อ 2 แนวเส้นสำรวจคือ เหยื่อทูน่า 20 เหยื่อ และเหยื่อน้ำหวาน 20 เหยื่อ วางเหยื่อทิ้งไว้ 30 นาที บันทึกจำนวนตัวและชนิดของมดในแต่ละพื้นที่
จากการศึกษาพบมดทั้งหมด 11 ชนิด 11 สกุล จาก 5 วงศ์ย่อย โดยพื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone A พบชนิดมดมากที่สุดเท่ากับ (8 ชนิด) มีค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเท่ากับ (1.65) ค่าดัชนีความสม่ำเสมอเท่ากับ (0.60) มีค่าความมากมายมากที่สุดเท่ากับ (31.45 ตัวต่อกับดัก) ค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันของมดระหว่างพื้นที่ศึกษา มีค่าประมาณร้อยละ 50.00-90.90 โดยพื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone A กับพื้นที่พักผ่อนมีความคล้ายคลึงมากที่สุด (ร้อยละ 90.90) ขณะที่พื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone A กับพื้นที่ออกกำลังกาย มีความคล้ายคลึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 50.00) การจัดกลุ่มพื้นที่โดยใช้ชนิดมดด้วยการวิเคราะห์ Cluster Analysis เมื่อพิจารณาที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 75 สามารถแบ่งกลุ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม (1) พื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone A และพื้นที่พักผ่อน (2) พื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone B และ พื้นที่จัดสวน และ (3) พื้นที่ออกกำลังกาย, พื้นที่ฟุตบาท, พื้นที่สนามหญ้า และ พื้นที่จอดรถ ชนิดมดที่มีการแพร่กระจายได้ดีและพบได้ทุกพื้นที่ ได้แก่ Paratrechina longicornis มีการกระจายสูงสุด (ร้อยละ44.40) รองลงมา ได้แก่ Solenopsis geminata (ร้อยละ40.50) และ Pheidole tandjongensis (ร้อยละ 38.31) ซึ่งไม่พบในอาคาร แต่พบในพื้นที่สวนสาธารณะ ทั้ง 3 ชนิดมีการปรากฏทั้งฤดูแล้งและฤดูฝนตลอดทั้งเดือน ชนิดมดที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ด้านสุขภาพ และสร้างความรำคาญ คือ Solenopsis geminata, Paratrechina longicornis และ Tapinoma melanocephalum ดังนั้นทุกพื้นที่การใช้ประโยชน์มีผลต่อการรบกวนของมด โดยพื้นที่ต้นไม้ใหญ่ zone A พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่จอดรถ เป็นพื้นที่ควรระวังจากมดอันตรายของสวนสาธารณะพระนคร
การศึกษานี้นำไปสู่การแก้ปัญหาและการบริหารจัดการมดในพื้นที่การใช้ประโยชน์ เพื่อลดอันตรายและการรบกวนจากมดในสวนสาธารณะพระนคร กรุงเทพมหานคร
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
เดชา วิวัฒน์วิทยา และวียะวัฒน์ ใจตรง. 2544. คู่มือการจำแนกสกุลมดบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. คณะวนศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,กรุงเทพฯ.
วนาลี ศรีหาคม. 2556. โครงสร้างทางสังคมและองค์ประกอบของชนิดมดหาอาหารตามผิวดินในพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่างกัน บริเวณสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วียะวัฒน์ ใจตรง. 2554. คู่มือจำแนกสกุลมดในประเทศไทย. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปทุมธานี.
Holldobler, B. and E. O. Wilson. 1990. The Ants. Harvard University Press, U.S.A.
Krebs, J. C. .2791 Ecology: The Experimental Analysis of Distribution and Abundance. Harper and Row Publishers, New York.
Krebs, J. 9199. Ecological Methodology. Benjamin/ Cummings, Menlo Park, California.
Ludwig, J. A. and J. F. Reynolds. 1988. Statistical Ecology. John Wiley & Sons, New York.
McCune, B. and M. J. Mefford. 1999. PC-ORD. Multivariate Aalysis of Ecological Data Version 4. MjM Solfware Desing, Glenden.
Schumacher, A. and W. G. Whitford. 1976. Spatial and temporal variation in Chihuahuan dersert ant faunas. Southwestern Naturalist 21: 1-8.
Schultz, D. A. and T. P. McGlynn. 2000. The interaction of ants with other organisms, pp. 35-44. In D. Agosti, L. E. Alonso, J. D. Majer and T. R. Schultz, eds. Ants: Standard for Measuring and Monitoring Biodiversity. Smithsonian Institution Press, United State of America.
Songtummin, R. 2014. Ant Bite Big Problem. Available Source: http://www.healthandcuisine.com/detail.aspx?ID=6001#.VCR5NmeSw4N, July 20, 2014.
Sorensen, B. 1984. Physical Measurements as Risk Indicators for Low-Back Trouble Over a One Year Period. Journal of Spinal Disorders and Techniques 9: 106-119.
Vinson, S. B. and A. Sorensen. 2003. Medical Problems Associated with the Imported. Available Source: http://www.fireant.tamu.edu/materials/factsheets/fapfs032.html, October 30, 2015
Wilson, E. O. 2000. Standard Methods for Measuring and Monitoring Biodiversity. Smithsonian Institution Press, Washington.
Wiwatwitaya, D. and H. Takeda. 2005. Seasonal changes in soil arthropod abundance in the dry evergreen forest of north-east Thailand, with special reference to collembolan communities. Ecological Research 20 (1): 59-70.