การแพร่กระจายและสถานภาพการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (Crinum thaianum J. Schulze) ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการแพร่กระจายและสถานภาพการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (Crinum thaianum J. Schulze) ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายและนิเวศวิทยา ตลอดการประเมินสถานภาพการอนุรักษ์พลับพลึงธารตาม IUCN red list categories and criteria Version 3.1 โดยใช้แบบจำลองการกระจาย Maximum entropy (MaxEnt) ในการประเมินและสร้างแผนที่การกระจายของพลับพลึงธาร
ผลการศึกษา พบว่า แผนที่การกระจายของพลับพลึงธาร ด้วยแบบจำลอง MaxEnt ให้ค่าความถูกต้องร้อยละ 94 ปัจจัยทางด้านนิเวศที่มีผลต่อการกระจายของพลับพลึงธารมี 6 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (3,100-3,300 มิลลิเมตร) 2) ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิในช่วงฤดูแล้ง (27.5-28.5 องศาเซลเซียส) 3) อุณหภูมิสูงสุดในเดือนที่มีอากาศร้อนสุด (33.5-34 องศาเซลเซียส) 4) ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (0-30 เมตร) 5) กลุ่มชุดดิน (ดินเกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำบริเวณสันดินริมน้ำ ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง มีค่า pH 5.0-6.0 ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนปนทรายแป้ง ค่า pH 5.5-7.0) 6) การใช้ประโยชน์ที่ดิน (ป่าไม่ผลัดใบ และพบได้บ้างในพื้นที่เกษตร และพื้นที่ชุมชน) จากการศึกษาในอดีตและปัจจุบัน พบว่า ขอบเขตการแพร่กระจายของพลับพลึงธาร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ดังนั้น สถานภาพของพลับพลึงธารจึงจัดอยู่ในเกณฑ์ “ใกล้สูญพันธุ์” (endangered)
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Land Development Department. 2013. Landuse map in Ranong and Phangnga Province. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. (Mimeographed) (in Thai)
Liu, C., P.M. Berry, T.P. Dawson and R.G. Pearson. 2005. Selecting threshold of occurrence in the prediction of species distribution. Ecography 28: 385-393.
Praditsant, R. and W. Phiphatchalernchai. 2008. The study ecology of Water onion (Crinum thaianum J. Schulze). Aquaticplants and Ornamental Fish Research Institute Department of Fisheries, Bangkok. (in Thai)
Phillips, S.J., R.P. Anderson and R.E. Schapire. 2006. Maximum entropy modeling of species geographic distributions. Ecol. Modeling 190: 231-259.
Ranong Provincial Natural Resources and Environment office. 2012. Point present of Crinum thaianum J. Schulze in Ranong and Phangnga Province. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok. (Mimeographed) (in Thai)
Schulze, J. 1972. Aquatic species from Southeast Asia In Traub, H.P. and H.N. Moldenke, eds., Plant Life. The American Plant Life Society 27 (27): 33-42.
Soonthornnawaphat, S. 2010. Report the study distribution of Crinum thaianum J. Schulze in Thailand. International Union for Conservation of Nature (IUCN) office Khuraburi, Phangnga Province. (in Thai)
Soonthornnawaphat, S., C.Bambaradeniya and P. Sukpong. 2011. Crinum thaianum The IUCN Red List of Threatened Species Version 2014.3. Available Source: www.iucnredlist.org. May 20, 2015.
Thailand Institute of Scientific and Technological Research. 2013. Final report Survay and database of extent distribution of Crinum thaianum J. Schulze. Ministry of Science and Technology, Bangkok. (in Thai)
Trisurat, Y., R.P. Shrestha and R. Kjelgren. 2011. Plant species vulnerability to climate change in Peninsula Thailand. Applied Geography 31 (2011): 1106-1114.