กายวิภาคเปรียบเทียบเนื้อไม้เมืองวงศ์ถั่ว 6 ชนิด ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไม้ต้นวงศ์ถั่วมีการแพร่กระจายทั่วประเทศ พืชวงศ์นี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งและเจริญได้ในดินทุกสภาพ หลายขนิดเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของไม้พื้นเมืองวงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยประดู่ (Leguminosae-Papilionoideae) จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ กระพี้เขาควาย (Dalbergia cultrata Graham ex Benth.) ฉนวน (Dalbergia nigrescens Kurz) กระพี้จั่น (Millettia brandisiana Kurz) สาธร (Millettia leucantha var. buteoides Kurz) ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus Willd.) และประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz) ที่เก็บตัวอย่างมาจากจังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว และชลบุรี เตรียมเนื้อไม้ด้วยอุปกรณ์ฝานชิ้นไม้และกรรมวิธีการแช่ยุ่ย ศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด
ลักษณะเด่นของไม้วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยประดู่ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแกมแดง ถึงสีน้ำตาลแกมม่วง ค่อนข้างเป็นมันวาว เวสเซลแบบกระจาย พบทั้งเวสเซล เดี่ยวและแฝด ยกเว้นประดู่บ้าน บนผนังเวสเซลพบรอยเว้ามีขอบยื่น เรียงสลับยกเว้นสาธร (M. leucantha) พาราเทรคีลพาเรงคิมามีทั้งแบบแถบ ปีก ปีกต่อ และแบบติดกับเวสเซลบางส่วน พบผลึกรูปปริซึมภายในเซลล์พาเรงคิมาตามยาว ผนังเซลล์เส้นใยมีความหนาอยู่ในช่วง 5.3-3.5 ไมครอน เรย์พบ 2 แบบ ได้แก่ เรย์แถวเดียว และเรย์ 1-3 แถว เรย์เรียงเป็นชั้น ยกเว้นประดู่บ้าน (P. indicus) จากผลการวิจัย กระพี้เขาควาย (D. cultrata) และ กระพี้จั่น (M. Brandisiana) เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง ในขณะที่สาธร (M. leucantha) ฉนวน (D. nigrescens) และประดู่ป่า (P. macrocarpus) เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ ไม้ประดู่บ้าน (P. indicus) สามารถประยุกต์เป็นวัสดุทดแทนไม้
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Bulian, F.C. and J.A. Graystone. 2008. Wood Coatings: Theory and Practice. Elsevier Publications, Budapet, Hungary.
Chayamarit, K. 1998. Plants Identification Manual . 1st ed. Diamond printing Company Ltd. Bangkok.
Desch, H.E. and J.M. Dinwoodie. 1996. Timber Structure, Properties, Conversion and Use. 7th ed. Macmillan Press Ltd., London, UK.
Fifanou, V.G., C. Ousmane, B. Gauthier and S. Brice. 2011. Traditional agroforestry systems and biodiversity conservation in Benin (West Africa). Agroforest Syst. 82: 1-13.
Hernandez, R.E. 2007.Influence of accessory substances, wood density and interlocked grain on the compressive properties of hardwoods. Wood Sci. Technol. 41: 249-265.
Kermanee, P. 2008. Techniques in Plant Tissue. Kasetsart University Press, Bangkok.
Leal, S., V.B. Sousa, S. Knapic, J.L. Louzada and H.Pereira. 2011. Vessel size and number are contributors to define wood density in cork oak. Eur. J. Forest Res. 130: 1023-1029.
Lewin, M. and I.S. Goldstein. 1991. Wood Structure and Composition. Marcel Dekker, Inc., New York.
Nugrobo, W.D., S.N. Marsoen, K. Yasue, T. Fujimara, T. Nakajima, M. Hayagawa, S. Nakaba, Y. Yamagishi, H. Ojin, T. Kubo and R. Funada. 2012. Radial variations in the Anatomical characteristics and density of the wood of Acacia mangium of five different provenances in Indonesia. J. Wood Sci. 58: 185-194.
Pham, H.T., S. Miyagawa and Y. Kosaka. 2005. Distribution patterns of trees in paddy field landscapes in relation to agro-ecological settings in northeast Thailand. Agriculture, Ecosystem and Environment 202: 42-47.
Rana, R., R.L. Heyser, R. Finkeldey and A. Polle. 2012. Functional anatomy of five endangered tropical timber wood species of the family Dipterocarpaceae. Trees. 23: 521-529.
Santini, N.S., N. Schmitz and C.F. Lovelock. 2012. Variation in wood density and anatomy in a widespread mangrove species. Trees. 26: 1555-1563.
Soerianegara, I. and R.H.M.J. Lemmens. 1994. Plant Resources of South-East Asia No 5 (1) Timber Trees: Major Commercial Timbers. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia.
Thai Customs Department. 2011. Import /export statistics. Available source: http://forestinfo.forest.go.th/content/file/stat2554/TAB21.pdf, June 1, 2011.
Thinley, C., G. Palmer, J.K. Vanclay and M. Henson. 2005.Spiral and interlocking grain in Eucalyptus dunnii. Holz als Roh and Werkstoff 63: 372-379.
Vansteenkiste, D., J.V. Acker, M. Stevens, D.L. Thiec and G. Nepveu. 2007. Composition, distribution and supposed origin of mineral inclusions in sessile oak wood-consequences for microdensitometrical analysis. Ann. For. Sci. 64: 11-19.
Wheeler, E.A. and P.E. Gasson. 1989. IAWA list of microscopic features for hardwood identification. IAWA Bulletin 10 (3): 219-332.