การคัดเลือกแม่ไม้เทพทาโรในจังหวัดพังงา
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.) จัดเป็นไม้สมุนไพรและไม้หอมชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ โดยมีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ น้ำมันหอมระเหย และใช้เป็นสมุนไพร สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของต้นไม้ชนิดนี้ในป่าธรรมชาติมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการปลูกทดแทน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาและมีความสำคัญในขั้นตอนของการปลูกและการปรับปรุงพันธุ์ คือ การคัดเลือกแม่ไม้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดลักษณะสำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกแม่ไม้เทพทาโร และทำการคัดเลือกแม่ไม้เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์และกล้าไม้ โดยได้ดำเนินการคัดเลือกแม่ไม้เทพทาโรในบริเวณวัดนิโรธรังสี อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหมู่ไม้เทพทาโรขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเป็นบริเวณกว้าง สำหรับลักษณะที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกแม่ไม้เทพทาโรกำหนดมาจากลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้และสมุนไพร ซึ่งได้กำหนดลักษณะที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกแม่ไม้จำนวน 10 ลักษณะ ได้แก่ ความสูงทั้งหมด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ความเปลาของลำต้น ความตรงของลำต้นจากโคนต้นถึงปลายง่าม ร่องรอยการเจาะทำลายลำต้น ความหนาของเปลือก ความหนาแน่นของเรือนยอด ปริมาณน้ำมันหอมระเหย ปริมาณสารออกฤทธิ์ และฤทธิ์ทางชีวภาพ ผลจากการคัดเลือกในครั้งนี้ได้แม่ไม้เทพทาโรจำนวน 10 ต้น ที่มีลักษณะดีทั้งเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านเนื้อไม้และใช้เป็นสมุนไพร ซึ่งแม่ไม้เทพทาโรที่คัดเลือกได้นี้สามารถใช้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดภัณฑ์และกล้าไม้เพื่อการปลูกทดแทนทั้งในป่าธรรมชาติและสวนป่านอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ต่อไปได้
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Denrungruang, P. 2007. Preliminary assay on antioxidative activity of some Lauraceae barks. Thai J. Biotechnol. 8 (1): 49-54.
Forest Herbarium. 2014. Thai Plant Names Tem Smitinand, Revised Edition 2014. Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok. (in Thai)
Forest Research and Development Bureau. 2009. Thep tharo (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)
Heaman, J.C. 1967. A Review of the Plus Tree Selection Program for Douglas-Fir in Coastal British Columbia. British Columbia Forest Service, Canada.
Kaosa-ard, A. 2001. Plus tree selection for Teak improvement, pp. 3/1-3/13. In Teak Improvement Strategy Handbook. Mingmuang Press, Chiang Mai. (in Thai)
Kramer, P.J. and T.T. Kozlowski. 1979. Physiology of Woody Plants. Academic Press, Inc., New York.
Lauridsen, E.B. and K. Olesen. 1994. Identification, Establishment and Management of Seed Sources: Lecture Note B-2. Danida Forest Seed Center, Humlebaek, Denmark.
Luangviriyasaeng, V. 2010. Forest tree improvement. In Silvicultural Research Knowledge Management Year 2010. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)
Mishra, D.K. 2009. Selection of candidate plus phenotypes of Jatropha curcas L. using method of paired comparisons. Biomass and Bioenergy 33: 542-545.
Palanuvej, C., P. Wrawatganone, V. Lipipun and N. Ruangrungsi. 2006. Chemical composition and antimicrobial activity against Candida albicans of essential oil from leaves of Cinnamomum porrectum. J Health Res 20 (1): 69-76.
Plansangkate, W., N. Sirinupong, R. Chirunthorn, K. Tunsuwan, T. Supavita, A. Itharat and P. Leesurapong. 2007. A study of people's utility of Teptaro (Cinnamomum porrectum Kosterm) through local wisdom. In A. Itharat, ed. Cycle of Product Development from Cinnamomum porrectum. Prince of Songkhla University, Hat Yai, Songkhla. (in Thai)
Phongpaichit, S., S. Kummee, L. Nilrat and A. Itharat. 2006. Antimicrobial activity of oil from the root of Cinnamomum porrectum. Songklanakarin J. Sci. Technol. 29 (1): 11-16.
Pipatwattanakul, D., N. Soonthornchareonnon, S. Maelim and S. Boonyuan. 2010. Genetic Diversity Conservation of Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.: Genetic Resources of Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. National Research Council of Thailand, Bangkok. (in Thai)
Supavita, T., P. Rattanasuwan and N. Intaraksa. 2007. Standard and specification of Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. on Thai herbal pharmacopoeia monograph. In A. Itharat, ed. Cycle of Product Development from Cinnamomum porrectum. Prince of Songkhla University, Hat Yai, Songkhla. (in Thai)
Uthairatsamee, S. 2011. Morphological, Phytochemical and Genetic Characteristics of Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. for In Situ Gene Conservation in Thai Mueang District, Phangnga Provice, Thailand. Ph.D. Thesis, Kasetsart University.
Zobel, B. and J. Talbert. 1984. Applied Forest Tree Improvement. John Wiley & Sons, Inc., New York.