การเปลี่ยนแปลงลักษณะการตกของฝน บริเวณลุ่มน้ำห้วยคอกม้า จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สิทธิโชค กล่อมวิญญา
ชัชชัย ตันตสิรินทร์
ปิยพงษ์ ทองดีนอก
โนบุอะกิ ทานากะ

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะการตกของฝน ได้แก่ จำนวนครั้ง จำนวนวันที่ฝนตก ปริมาณ ความยาวนาน ความหนักเบา และความหนักเบาสูงสุดในช่วง 30 นาที จากเครื่องวัดน้ำฝนแบบบันทึกอัตโนมัติ 3 เครื่อง บริเวณลุ่มน้ำห้วยคอกม้า จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2540-2556 และการศึกษาแนวโน้มลักษณะการตกของฝน ด้วยวิธีทดสอบทั้งแบบใช้พารามิเตอร์และไม่ใช่พารามิเตอร์ ได้ผลการศึกษาดังนี้


บริเวณลุ่มน้ำห้วยคอกม้า มีค่าเฉลี่ยรายปีของลักษณะการตกของฝนต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนี้ ปริมาณฝนมีค่า 1,736 มิลลิเมตร จำนวนครั้ง 188 ครั้ง และจำนวนวันที่ฝนตก 141 วัน เดือนสิงหาคมมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด 355 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด 10 มิลลิเมตร นอกจากนี้การกระจายลักษณะการตกของฝนในแต่ละครั้งมีการแจกแจงแบบเบ้ขวา เดือนพฤษภาคมมีลักษณะการตกของฝนที่รุนแรงมากที่สุด โดยมีจำนวนครั้งของฝนที่ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่า 50 มิลลิเมตร ความยาวนานของฝนมากกว่า 4 ชั่วโมง และความหนักเบาสูงสุดของฝนในช่วง 30 นาที  ที่มากกว่า 30 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง มากที่สุด จากการศึกษาแนวโน้มลักษณะการตกของฝนพบว่า ปริมาณน้ำฝน จำนวนครั้งที่ฝนตก และจำนวนวันที่ฝนตกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามจำนวนครั้งของฝนที่ตกด้วยความหนักเบาที่มากกว่า 50 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Aungsuratuna, P. 1994. Rainfall Assessment from Meteorological Satellite Data over the Northern Part of Thailand. M.S. Thesis, Kasetsart Universtiy. (in Thai)
Bosch, D.D., J.M. Sheridan and F.M. Davis. 1999. Rainfall Characteristics and Spatial Correlation for the Georgia Coastal Plain. Trans. Am. Soc. Agr. Eng. 42 (6): 1637-1644.
Chantanasamit, P. 1982. An Analysis of Rain Falling Probability and Its Patterns on Mountainous Land at Doi Pui, Chiengmai. M.S. Thesis, Kasetsart Universtiy. (in Thai)
Chitprapai, A. 1998. Nonstationarity Analysis of Hydrologic Data. M.S. Thesis, Chulalongkorn Universtiy. (in Thai)
Chotimol, K. 1995. Trends of Rainfall in Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan Coast Basins. M.S. Thesis, Chulalongkorn Universtiy. (in Thai)
Climatology and Hydrometeorology Divisions. 1989. Study of Rainfall Amount Affecting Flood Occurrence in Thailand. 46. ​​(in Thai)
Helsel, D.R. and R.M. Hirsch. 2002. Statistical Methods in Water Resources. U.S. Geological Survey.
Hirsch, R.M., R.B. Alexander and R.A. Smith. 1991. Selection of Methods for the Detection and Estimation of Trends in Water Quality. Water Resources Research 27: 803-813.
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 2007. Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Cambridge University Press, United Kingdom and New York.
Kanae, S., T. Oki and K. Musiake. 2001. Impact of Deforestation on Regional Precipitation over the Indochina Peninsula. Amer. Meteor. Soc. 2: 51-69.
Kendall, M.G. 1975. Rank Correlation Methods, 4th ed. Charles Griffin, London, U.K.
Limjirakan, S., A. Limsakul and T. Sriburi. 2010. Trend in Temperature and Rainfall Extreme Changes in Bangkok Metropolitan area. J. Environ. Res. 32 (1): 31-48.
Limsakul, A. and P. Singhruck. 2015. Long-Term Trends and Variability of Total and Extreme Precipitation in Thailand. Atm. Res. 169: 301-317.
Mann, H.B. 1945. Non-Parametric Test Against Trend. Econometrica 13: 245–259.
Trenberth, K. 2005. The impact of climate and variability on Heavy Precipitation, floods, and droughts. National Center for Atmospheric Research, Boulder, CO, USA
Zhao, M. and A.J. Pitman. 2002.The Impact of Land Cover Change and Increasing Carbon Dioxide on the Extreme and Frequency of Maximum Temperature and Convective Precipitation. Geophysical Research Litters 29 (6): 2/1-2/4.