การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับด้านนันทนาการในพื้นที่ลานกางเต็นท์ลานสน อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

Main Article Content

จิตรกร รามันพงษ์
นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว
ดรรชนี เอมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการประกอบกิจกรรมการพักแรมด้วยเต็นท์ และปัจจัยแวดล้อมด้านนันทนาการ บริเวณลานกางเต็นท์ลานสนในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว และเพื่อวิเคราะห์และประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพและด้านจิตวิทยาของลานกางเต็นท์ลานสน โดยทำการศึกษาข้อมูลใน 2 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ การศึกษาลักษณะสภาพพื้นที่โดยตรงในส่วนของลักษณะทั่วไปและปัจจัยแวดล้อมด้านนันทนาการและการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับความรู้สึกแออัด ความพึงพอใจโดยรวม ลักษณะนักท่องเที่ยว และการประกอบกิจกรรมนันทนาการโดยมีขนาดตัวอย่าง 359 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ


ผลการวิจัยพบว่าเส้นทางเดินขึ้นลานกางเต็นท์มีระยะทาง 6.243 กิโลเมตรด้วยความสูงตั้งแต่ 639 ถึง 1,597 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการอยู่ในกลุ่มพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ มีปัจจัยจำกัดเรื่องน้ำสำหรับบริโภคเป็นสิ่งกำหนดขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพที่ 165 คนต่อวัน และการประเมินด้วยค่าเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเป้นขีดความสามารถในการรองรับด้านจิตวิทยาที่เท่ากับ 199 คนต่อวัน เมื่อพิจารณาขีดความสามารถในการรองรับทั้งสองด้านร่วมกันพบว่า ขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพเป็นค่าที่น้อยที่สุดจึงกำหนดขีดความสามารถในการรองรับด้านนันทนาการของลานกางเต็นท์ลานสนอยู่ที่ 165 คนต่อวัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Asia Lab and Consulting Company Limited. 2006. The Final Report in study the capacity of the Erawan National Park: Kanchanaburi Province. Bangkok. (in Thai)
Cole, D.N. and C.A. Monz. 2004. Spatial patterns of recreation impact on experimental campsites. Environmental Management 70: 73-84
Emphandhu, D. 2014. A project preparation and impact prevention for climate change to the ecosystem and environment by providing quality natural mountain environment. Rama Gardens Hotel, Bangkok. (in Thai)
Hammitt, W.E. and D.N. Cole. 1987. Wildland Recreation. A Wiley-Interscience publication, USA.
Manning, R.E. 2011. Studies in Outdoor Recreation. Oregon State University Press, U.S.A.
National Park Innovation Institute Department of National Parks Wildlife and Plant Conservation. 2008. Recreation Carrying Capacity Monitoring of National Park. n.p. (in Thai).
National Park Innovation Institute Department of National Parks Wildlife and Plant Conservation. 2014. Recorded Tourists Report 2004-2013. Available Source: http://www.dnp.go.th/NPRD/develop/data/stat56/10year_56.pdf, January 20, 2014. (in Thai)
Poolsawat, A. 2013. Normative behaviors in recreation settings of Thai and foreign visitors to National Park: a case study of Khao Yai National Park. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Shelby, B. and T.A. Heberlein. 1986. Carrying Capacity in Recreation Setting. Oregon State University Press, USA.
Tanakanajana, N., W. Arunpraparut, N. Pongpattananurak, R. Nuampukdee and T. Chumsangsri. 2006. Decision Support System for Sustainable Management Planning of Nature-based Recreation Areas in Thailand Phase 1. Kasetsart University. (inThai)
Varakamin, S. 2010. Water for Life. 7th ed Samcharoen Panich (Bangkok) Co., Ltd., Bangkok. (inThai)
Yamane, T. 1973. Statistics; An Introduction Analysis. 3rd ed., Harper International Edition, Tokyo.