การประเมินปริมาณไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ของไม้ยางพารา: กรณีศึกษาสวนป่า กาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตารางปริมาตรไม้เป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินปริมาณไม้สะดวกและรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องโค่นต้นไม้ให้ยุ่งยาก การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตารางปริมาตรไม้ยางพาราเฉพาะถิ่นที่ทำเป็นสินค้าได้ และประเมินปริมาณไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้สำหรับไม้ยางพาราในพื้นที่สวนป่ากาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำรวจด้วยวิธีการวางแถบสำรวจอย่างเป็นระบบ (systematic strip sampling) เพื่อจำแนกอันตรภาคชั้นของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ทำการเก็บไม้ตัวอย่าง 40 ตัวอย่าง ให้ครอบคลุมทุกอันตรภาคชั้นเพื่อสร้างตารางปริมาตรไม้ รวบรวมข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับ 170 เซนติเมตรจากพื้นดิน ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ ความสูงทั้งหมด และจำนวนท่อน นำข้อมูลไม้ตัวอย่างมาคำนวณปริมาตรไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้โดยใช้ Huber’s Formula และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรไม้และตัวแปรอิสระ วิเคราะห์สมการถดถอย เลือกสมการที่เหมาะสำหรับนำมาประเมินปริมาตรไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ คือ LogV = (-3.920)+1.986 logD+0.626 logHm กำหนดให้ V = ปริมาตรไม้ใต้เปลือก (ลูกบาศก์เมตร) D = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 170 (เซนติเมตร) จากพื้นดิน และ Hm = ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ (เมตร)
นำสมการที่ได้มาสร้างและทดสอบตารางปริมาตรไม้ โดยการคำนวณเปอร์เซ็นเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปริมาตรไม้ตัวอย่างที่รวบรวมได้และปริมาตรไม้ที่คำนวณได้จาก Huber’s Formula พบว่า มีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าปริมาตรไม้เท่ากับ 8.47% ส่วนการประเมินปริมาณไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ ในพื้นที่สวนยางพารา 648.95 ไร่ พบว่า ปริมาตรไม้ยางพาราเฉลี่ย 4.99 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และปริมาตรไม้ยางพาราที่ทำเป็นสินค้าได้ทั้งหมด 3,239.41 ลูกบาศก์เมตร
คำสำคัญ: ตารางปริมาตรไม้ การประเมินปริมาณไม้ ไม้ยางพารา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”