การประเมินมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนของพืชที่มีเนื้อไม้ในป่าเบญจพรรณ ในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ภัทร์ธีรา บุญทูล
วาทินี สวนผกา
สมพร แม่ลิ่ม

บทคัดย่อ

            การศึกษาการประเมินมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนของพืชที่มีเนื้อไม้ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ณ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมพืช ปริมาณมวลชีวภาพ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและประเมินมูลค่าการกักเก็บคาร์บอน โดยคัดเลือกพื้นที่จากค่าความเข้มสีจากระบบสีของแสง (RGB) กำหนดความหนาแน่นของเรือนยอดจากภาพถ่ายดาวเทียมกูเกิล เอิร์ธ (Google earth) แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 พื้นที่สีเขียวเข้ม มีค่าความเข้มสีอยู่ในระหว่าง 38000000-40000000 กำหนดให้เป็นแปลงความหนาแน่นของเรือนยอดมากกลุ่มที่ 2 พื้นที่สีเขียวปานกลาง มีค่าความเข้มสีอยู่ระหว่าง 46000000-48000000 กำหนดให้เป็นแปลงความหนาแน่นของเรือนยอดปานกลาง และกลุ่มที่ 3 พื้นที่สีเขียวอ่อน มีค่าความเข้มสีอยู่ระหว่าง 54000000-56000000 กำหนดให้เป็นแปลงความหนาแน่นของเรือนยอดน้อย จากนั้นวางแปลงตัวอย่างขนาด 40x40 เมตร ในพื้นที่ป่าทั้ง 3 กลุ่มกลุ่มละ 3 แปลง รวมทั้งสิ้น 9 แปลง ทำการสำรวจชนิดไม้ต้นและไผ่ที่พบ วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และความสูง นำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ ดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-เวียเนอร์ (Shannon-Wiener) ปริมาณมวลชีวภาพ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอน และมูลค่าการกักเก็บคาร์บอน


          ผลการศึกษา พบว่า แปลงความหนาแน่นเรือนยอดมาก มีเปล้าใหญ่ (Croton persimilis) เป็นไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้มากที่สุด มีค่าดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-เวียเนอร์ เท่ากับ 2.26 โดยที่มีปริมาณมวลชีวภาพเฉลี่ย 246.11 ตันต่อเฮกตาร์ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 115.67 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ และมีมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 313,951.79 บาท แปลงความหนาแน่นเรือนยอดปานกลาง มีค่าดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-เวียเนอร์ เท่ากับ 2.99 โดยที่เปล้าใหญ่ เป็นไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้มากที่สุด มีปริมาณมวลชีวภาพเฉลี่ย 170.00 ตันต่อเฮกตาร์ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 80.12 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ และมีมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 217,463.48 บาท และแปลงความหนาแน่นเรือนยอดน้อย มีค่าดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-เวียเนอร์ เท่ากับ 3.42 โดยที่ปอลาย (Gwewia laevigata) เป็นไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้มากที่สุด มีปริมาณมวลชีวภาพเฉลี่ย 120.76 ตันต่อเฮกตาร์ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 56.76 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์และมีมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 154,054.92 บาท ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพในกักเก็บคาร์บอนเพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นส่วนสำคัญในทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bank of Thailand. 2018. Rate of Exchange of Commercial Bank in Bangkok Metropolis. Available Source: https://www.bot.or.th/thai/_layouts/application/exchangerate/exchangerate.aspx#, November 15, 2018. (in Thai)

Boonsang, S. 2011. Estimation of Above-ground Carbon Sequestration of Forest Using Remote Sensing Techniques in Mae Tuen Wildlife Sanctuary, Tak Province. M.E. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)

Domrongsutsiri, V. 2001. Application of Remote Sensing for Estimating Leaf Area Index and Above-ground Forest Biomass at Phu Kradung National Park, Changwat Loei. M.E. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)

Forest Research Center. 2013. Biodiversity of Mae Horpra Forest Plantation, Chiang Mai. Faculty of Forestry, Kasetsart University. (in Thai)

Intergovernmental Panel on Climate Change [IPCC]. 2006. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. International Panel on Climate Change. IGES, Japan.

Intergovernmental Panel on Climate Change [IPCC]. 2007. Summary for Policymakers. Cambridge University, United Kingdom.

Khamyong, N. 2009. Plant Species Diversity, Soil Characteristics and Carbon Accumulation in Different Forests, Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai Province. M.E. Thesis, Chiangmai University. (in Thai)

Lakanaworakul, R., P. Ladpala, A. Kaewrungrod, P. Chidsongsawad and K. Kaewpoonsri. 2015. Climate Change and REDD Plus. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (in Thai)

Marod, D., and U. Kutintara. 2009. Forest Ecology. Aksorn Siam Printing, Bangkok. (in Thai)

Nuanurai, N. 2005. Comparison of Leaf Area Index, Above-ground Biomass and Carbon Sequestration of Forest Ecosystems by Forest Inventory and Remote Sensing at Kaeng Krachan National Park, Thailand. Faculty of Science, Chulalongkorn University. (in Thai)

Ogawa, H., K. Yoda, K. Ogino and T. Kira. 1965. Comparative ecological studies on three main types of forest vegetation in Thailand. II. Plant Biomass. Nature and Life in Southeast Asia 4: 49-80.

Pansawang, C., N. Thanakasen, P. Amornwittawat, S. Pannawong and P. Samonsen. 2017. The study of plant species diversity in nature-based attraction: case study: Mae Wong national park, Nakhonsawan, pp. 188-195. In The National Academic Conference No. 5. 1 March 2017. Chom Bueng Rajabhat University, Ratchaburi Province. (in Thai)

Pasertpong, P. 2015. Methods of Studying Biomass in the Forest. Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University, Bangkok. (in Thai)

Sanpop, C. 2011. Carbon Storage in Biomass of Trees Planted in Santiphap Park, Bangkok. M.E. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)

Shannon, C.E. and W. Weaver. 1949. A Mathematical Theory of Communication. University of Illinois Press, Urbana.

Subnukarn, P. 2013. A Study on Diversity of Tree Species at Phujong-nayoi National Park and their Potential for Landscape Uses. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (in Thai)

Suwannapinunt, W. 1983. A study on the biomass of Thyrsostachys siamensis Gamble forest at Hin-Lap, Kanchanaburi. Journal of Bamboo Research 2(2): 82-101.

Thailand Greenhouse Gas Management Organization. 2018. Carbon Market Weekly November 5-9, 2018. Available Source: http://carbonmarket.tgo.or.th/admin/uploadfiles/weekly/ts_9c2419ce82_TH.pdf, November 15, 2018. (in Thai)