การประเมินมูลค่าการกักเก็บคาร์บอน และการใช้ประโยชน์ของป่า ณ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของไม้ยืนต้น และศึกษาปริมาณและมูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่า ณ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทำการศึกษาโดยการสำรวจป่าชายเลนและเก็บข้อมูลการเติบโตของหมู่ไม้ด้วยการวางแปลงตัวอย่างถาวรแปลงขนาด 20x40 เมตร จำนวน 3 แปลง กระจายครอบคลุมพื้นที่ป่าที่มีความหนาแน่นสูง ปานกลาง ตํ่า ในแต่ละแปลงขนาด 20x40 เมตร ถูกแบ่งออกเป็นแปลงย่อยขนาด 10x10 เมตร และเก็บข้อมูลไม้ยืนต้นหรือไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอกมากกว่าหรือเท่ากับ 4.5 เซนติเมตรขึ้นไปทุกต้น ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือครัวเรือนที่เก็บหาของป่าในป่าชายเลนทุกครัวเรือน
จากการศึกษาพบชนิดพรรณไม้ยืนต้นทั้งหมด 6 ชนิด จาก 3 วงศ์ 4 สกุล ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่แสมขาว แสมทะเล ตะบูนดำ และ ถั่วขาว มีความหนาแน่นเฉลี่ย 405 ต้นต่อไร่ มีปริมาณมวลชีวภาพ 37.58 ตันต่อไร่ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอน 17.66 ตันคาร์บอนต่อไร่ และปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 64.76 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าการกักเก็บคาร์บอน 8,027 บาทต่อไร่ หรือมีมูลค่าการกักเก็บคาร์บอนทั้งหมด ประมาณ 262,884 บาทต่อปี และพบว่าของป่าที่ราษฎรมีการใช้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ ปูแสม รองลงมาคือ ปูทะเล ปูดำ และหอยนางรม รวมปริมาณทั้งหมด 297 กิโลกรัมต่อครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายต่อปี คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 350,397.57 บาทต่อปี ดังนั้น มูลค่ารวมของการกักเก็บคาร์บอนและการใช้ประโยชน์ของป่า ณ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ปี พ.ศ. 2561 เท่ากับ 613,282 บาท การศึกษาครั้งนี้สามารถสะท้อนคุณค่าบางส่วนของการฟื้นฟูป่าชายเลนและเป็นข้อมูลสำคัญต่อการวางแผนการพัฒนาต่อไป
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Aksornkoae, S. 1999. Mangroves Ecology and Management. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Aksornkoae, S., L. Puangchit, C. Sriladda, S. Havanon, V. Theerathanakul, S. Siriboon, B. Bangkaew, C. Milindankura, N. Paphavasit, A. Piumsomboon, I. Sivaipram, V. Gunbua, A. Oumnuch, S. Wong-Chinnawit, S. Sukprasert, P. Punnaruck, N. Mongkhon-Saengsuree, K. Wongkumhaeng, B. Sabuytua, W. Kwaipun, P. Chu-Liang, C. Songroop, Sr. Massirikul and C. Kaewborisut. 2009. Pranburi Mangrove Forest. 2nd ed. PTT, Bangkok. (in Thai)
Bank of Thailand. 2020. Foreign Exchange Rate as of 28 February 2020. Available Source: https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/FinancialMarkets/ExchangeRate/ExchangeRate_TH_PDF/ER_PDF_28022563.PDF, February 28, 2020.
Boonyavetchewin, S and R. Buasalee. 2011. Mangrove Forest: Ecology and Vegetation. Rabbit in the Moon Foundation, Bangkok. (in Thai)
Department of Marine and Coastal Resources. 2013. The Knowledge of Mangrove Handbook. 6th ed. Ployjean media Inc., Bangkok. (in Thai)
Detkhobut, J. 2008. Use Value of Mangrove Forest Thungka-sawi Bay, Chumphon Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Diloksumpun, S. 2007. Carbon sequestration of forests and global warming. Journal of Soil and Water Conservation 22: 40-49.
Food and Agriculture Organization [FAO]. 2008. The State of Food and Agriculture. Electronic Publishing Policy and Support Branch Communication Division, FAO, Rome.
Hamrick, K. and M. Gallant. 2017. Unlocking Potential: State of the Voluntary Carbon Markets 2017. Washington, D.C.
IPCC. 2006. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories: Chapter 4 Forestland. National Greenhouse Gas Inventories Programme. IGES, Japan.
Jitchob, L. 2008. Value of Mangrove Forest Utilization Ranong Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Komiyama, A., K. Ogino, S. Aksornkoae and S. Sabhasri. 1987. Root biomass of a mangrove forest in southern Thailand. I. Estimation by the trench method and the zonal structure of root biomass. Journal of Tropical Ecology 3: 97-108.
Marod, D. and U. Kutintara. 2009. Forest Ecology. Aksorn Siam Printing, Bangkok. (in Thai)
Phasatan, J. 2001. Nutrient Alternative: Use Value of Mangrove Forest Thungka-Sawi Bay Chumphon Province Density. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Phanchai, O., S. Aksornkoae and L. Puangchit. 2007. Mangrove rehabilitation on abandoned shrimp ponds at Amphoe Kha-nom, Nakhon Si Thammarat province, pp. 95-103. In Proceedings of National Mangrove Ecosystem Conference, Mangrove Forest, “Sufficiency Economy Foundation of Coastal Community”. 12-14 September 2007. Holiday Inn Resort Regent Beach Cha-Am, Phetchaburi. (in Thai)
Phongsuksawat, P. 2002. Determination of Tree Biomass in the Mangrove Habitat Study Area, Changwat Phangnga. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Phosing, S. 2007. Economic Valuation of Mangrove Forest in Donsuk National Mangrove Conservation Zone, Surat Thani Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Rakjarern, S., P. Sunthornhao, W. Krisanapant and W. Meepol. 2017. Use value of mangrove forest and carbon stock in buffer zone of Ranong Biosphere Reserve. Thai Journal of Forestry 36(1): 58-67.
Sriladda, C. and L. Puangchit. 2007. Carbon sequestration of mangrove plantations at Pak Phanang, Nakhon Si Thammarat province, pp. 379-389. In Proceedings of National Mangrove Ecosystem Conference, Mangrove Forest, “Sufficiency Economy Foundation of Coastal Community”. 12-14 September 2007. Holiday Inn Resort Regent Beach Cha-Am, Phetchaburi. (in Thai)
Sunthornhao, P., C. Phutavanich and R. RakNa. 2015. Evaluation of Community Forest Management Under the Forest Conservation and Love Community Project Operated by Ratchaburi Electricity Generating Holding Public Company Limited and the Royal Forest Department Phase 2 in 2015. Forest Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Thailand Greenhouse Gas management Organization (Public Organization) [TGO]. 2014. Standard of Verified Carbon Standard: VCS. P2 Design & Print Company Limited, Bangkok.