การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์การเข้าถึงจุดความร้อน ในพื้นที่ป่าไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมและการพัฒนาของขั้นตอนวิธี (algorithm) ทำให้สามารถคำนวณและทราบจุดเกิดความร้อนได้รวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง จุดความร้อนที่พบในพื้นที่ป่าไม้อาจเป็นพื้นที่ที่มีค่าความร้อนสูง เช่น ไฟป่า ภูเขาไฟ หรือลานหิน เป็นต้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดจุดความร้อนจะต้องตรวจสอบและเข้าดำเนินการควบคุมไฟหากเกิดไฟไหม้ขึ้นจริง ซึ่งพื้นที่ป่าไม้มีความยากง่ายในการเข้าถึงที่แตกต่างกันในแต่ละจุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสะดวกในการเข้าถึงจุดความร้อนในพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยพิจารณาจากสี่ปัจจัย ได้แก่ ความลาดชัน ตำแหน่งสถานีควบคุมไฟป่า ถนน และแหล่งนํ้า ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น และการให้คะแนนความสำคัญของปัจจัยต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านไฟป่ามาวิเคราะห์ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงจุดความร้อนมากที่สุด คือ ถนน มีค่าความสำคัญเท่ากับ 0.406 รองลงมาคือ สถานีควบคุมไฟป่า แหล่งนํ้า และความลาดชัน มีค่าความสำคัญเท่ากับ 0.316, 0.154 และ 0.124 ตามลำดับ ระดับการเข้าถึงจุดความร้อนในพื้นที่ป่าไม้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ระดับการเข้าถึงยาก ระดับการเข้าถึงปานกลาง และระดับการเข้าถึงง่าย คิดเป็นร้อยละ 74.104, 18.412 และ 7.484 ตามลำดับ ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการและเตรียมการเข้าถึงพื้นที่ที่พบจุดความร้อนหรือไฟป่าได้อย่างเหมาะสม
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Demir, M., A. Küçükosmanoğlu, M. Hasdemir, T. Ozturk and H.H. Acar. 2009. Assessment of forest roads and firebreaks in Turkey. African Journal of Biotechnology 8: 4553-4561.
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2016. General Information of Protected Area Regional Office 16 (Mae Sariang). Available Source: http://www.fca16mr.com/webblog/ blog.php?id=1338, November 8, 2019. (in Thai)
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2019. Forest Fire Statistics for Each Province in Thailand. Available Source: http://www.dnp.go.th/
forestfire/web/frame/statistic.html, May 5, 2020. (in Thai)
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2020. Methods and Strategies for Forest Fire Control. Available Source: http://www.dnp.go.th/forestfire/FIRESCIENCE/lesson%207/lesson7_1.html, May 5, 2020. (in Thai)
Food and Agriculture Organization [FAO]. 2001. International Handbook on Forest Fire Protection: Technical Guide for the Countries of the Mediterranean Basin. FAO, France.
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency [GISTDA]. 2015. The Report on Forest Fire and Smoke from Modis Satellite and Burn Scar from LANDSAT-8 Satellite 2015. Available Source: http://fire.gistda.or.th/fire_report/Fire_2558.pdf, June 30, 2020. (in Thai)
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency [GISTDA]. 2017. The Report on Forest Fire and Smoke from Modis Satellite and Burn Scar from LANDSAT-8 Satellite 2016. Available Source: http://fire.gistda.or.th/fire_report/Fire_2560.pdf, November 17, 2019. (in Thai)
Hlaotrakool, P. 2020. Things to Know About Hotspot. Available Source: https://www.gistda.or.th/main/en/node/3660, May 5, 2020. (in Thai)
Ket-ord, R. 2015. Analysing of invasive risk area of Phu Langka Forest Park, Phayao province, pp. 1282-1288. In Proceedings of 53rd Kasetsart University Annual Conference. 3-6 February 2015. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Khantipat, T. 2014. Forest Fire Management of Baan Huay Poo Ling, Omkoi District, Chiang Mai Province. Independent Study, Chiang Mai University. (in Thai)
Khaocharoen, S. 2015. A GIS-Based Multi-Criteria Analysis for Postal Service Site Selection in Bang Khun Thian Post Office Service Area. M.A., Chulalongkorn University. (in Thai)
Saaty, T.L. 1980. The Analytic Hierarchy Process. McGraw-Hill, New York.