การประยุกต์ภูมิสารสนเทศเพื่อการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และการคาดการณ์สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต โดยจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2552, 2557 และ 2562 จากภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-5 และ LANDSAT-8 ด้วยเทคนิคการแปลตีความหมายด้วยสายตา (visual interpretation) และแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 ประเภท คือ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เบ็ดเตล็ด พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และแหล่งนํ้า
ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2552-2557 พื้นที่เกษตรกรรมเบ็ดเตล็ด ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.50, 4.45 และ 2.05 ตามลำดับ พื้นที่ป่าไม้ลดลงร้อยละ 50.00 แหล่งนํ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2562 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.18 และ 14.82 ตามลำดับ พื้นที่ป่าไม้และเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 40.39 และ 9.61 ตามลำดับ และแหล่งนํ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับการประเมินความถูกต้องจากการแปลตีความหมายภาพถ่ายดาวเทียมในปี พ.ศ. 2562 พบว่า มีค่าความถูกต้องรวม (overall accuracy) ในรูปแบบ confusion matrix คิดเป็นร้อยละ 94.85 และผลจากการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2567 ด้วยแบบจำลอง Land Change Modeler (LCM) โดยใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2562 เป็นปีฐานในการคำนวณ พบว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2562-2567 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เบ็ดเตล็ดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.72 และ 4.27 ตามลำดับ ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง 27.53 และ 22.46 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างในบริเวณหลายหมู่บ้าน การลดการบุกรุกของพื้นที่ป่าต้องมีการดำเนินการจัดการพื้นที่เชิงรุกและมาตรการในการเฝ้าระวังเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Araya, Y.H. and P. Cabral. 2010. Analysis and modeling of urban land cover change in Setubal and Sesimbra Portugal. Remote Sensing 2(2): 1549-1563.
Clark Lab. 2013. IDRISI Spotlight: The Land Change Modeler. Clark University, Worcester, MA.
Congalton, R.G. and K. Green. 1999. Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data: Principle and Practices. Lewis Publisher, Boca Raton.
Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation. 2010. The Northern National Park in Thailand. Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok.
Eastman, R.J. 2006. IDRISI Andes Guide to GIS and Image Processing. Clark University, USA.
Eastman, R.J. 2012. IDRISI SELVA Manual. Clark University, USA.
Grainger, A. 1990. Modeling deforestation in the humid tropics, pp. 51-67. In M. Palo and G. Mery, eds. Deforestation or Development in the Third World? Vol. 3 Bulletin No. 349. Finnish Forest Research Institute, Helsinki.
Land Development Department. 2003. The Data of Classification Land use type. Land Development Department, Bangkok.
Leh, M., S. Bajwa and I. Chaubey. 2011. Impact of Land Use Change on Erosion Risk: An Integrated Remote Sensing, Geographic Information System and Modeling Methodology. Available source: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1002/ldr.1137/, August 2, 2011.
Suwanlertcharoen, T., S. Prukpitikul, V. Buakaew and N. Kaewpoo. 2013. Land use and land cover prediction and change detection using Geo-informatics in Khlong Kui watershed, Prachuap Khiri Khan province, pp. 1-15. In Geoinfotech2013. 25-27 December 2013. Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization), Thailand. (in Thai)
Turner Ii, B.L., D. Skole, S. Sanderson, G. Fischer, L. Fresco and R. Leemans. 1995. Land-use and land-cover change, science/research plan. IGBP Report No. 35/HDP Report No. 7. Stockholm.
Veldkamp, A. and E.F. Lambin. 2001. Predicting land-use change. Agriculture, Ecosystems and Environment 85(1-3): 1-6.