การประเมินมูลค่าเพื่อการแทนคุณการจัดการลุ่มนํ้าในพื้นที่ลุ่มนํ้าปราจีนบุรีตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยินดีจ่ายและยินดีรับของชุมชนเพื่อใช้ในการจัดการลุ่มนํ้า ด้วยกระบวนการแทนคุณระบบนิเวศลุ่มนํ้า โดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความยินดีที่จะจ่ายและยินดีรับค่าแทนคุณระบบนิเวศลุ่มนํ้า วิเคราะห์การประเมินมูลค่าโดยใช้วิธี contingent valuation method (CVM) เพื่อหามูลค่าเศรษฐกิจของทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มประเภทที่เป็นสินค้าสาธารณะ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มนํ้าปราจีนบุรีตอนบนทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2561 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยตอนบนของพื้นที่ลุ่มนํ้าและกลุ่มที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มนํ้าพื้นที่ศึกษาจำนวน 403 คน โดยใช้คำถามแบบปลายเปิดในการสอบถามความยินดีจ่ายของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มนํ้าและยินดีรับของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตอนบนของลุ่มนํ้าโดยใช้สมมติฐานจากการวิเคราะห์ปริมาณนํ้าด้วยแบบจำลองทางอุทกวิทยา (SWAT model) ซึ่งกำหนดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจของผู้ให้ข้อมูลบ่งบอกค่าความยินดีที่จะจ่าย และยินดีที่จะรับในกระบวนการแทนคุณระบบนิเวศลุ่มนํ้า ผลการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค (logistic regression analysis) เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระ ของค่าความยินดีจ่าย (willingness to pay) และความยินดีรับ (willingness to accept) พบว่า กลุ่มประชากรในพื้นที่ปลายนํ้ามีผู้ยินดีจ่ายร้อยละ 66.5 ไม่ยินดีจ่ายร้อยละ 3.5 (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน) และในพื้นที่ต้นนํ้ามีผู้ยินดีรับร้อยละ 60.1 ไม่ยินดีรับร้อยละ 39.9 (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 203 คน) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา ภูมิลำเนา อาชีพ และรายได้ต่อความยินดีจ่ายและความยินดีรับ พบว่า ไม่มีค่าตัวแปรใดที่มีความสัมพันธ์กับการยินดีจ่ายและยินดีรับที่นัยสำคัญ 0.05
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Arnold, J.G., R. Srinivansan, K.W. King and R.H. Griggs. 1995. SWAT Soil and Water Assessment Tool: Draft User’s Manual. Available source: https://swat.tamu.edu/media/1290/swat2000theory.pdf, January 24, 2015.
Chaikaew, P., A.W. Hodges and S. Grunwald. 2017. Estimating the value of ecosystem services in a mixed-use watershed: a choice experiment approach. Ecosystem Services 23: 228-237.
Dauda, S.A., M.R. Yacob and A. Radam. 2015. Household’s willingness to pay for heterogeneous attributes of drinking water quality and services improvement: an application of choice experiment. Applied Water Science 5: 253-259.
Department of Provincial Administration. 2017. Annual Population and House Statistics Report 2017. Available Source: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/, April 23, 2017. (in Thai)
Dias, V. and K. Belcher. 2015. Value and provision of ecosystem services from prairie wetlands: A choice experiment approach. Ecosystem Services 15: 35-44.
Greennews Agency. 2016. Pilot Measures 'PES' to Protect Conservation Areas Value Natural - Share the Benefit to The Ranger. Available Source: https://greennews.agency/?p=11017, April 17, 2020. (in Thai)
Global Environment Outreach Centre. 2010. Payments for Environmental Services (PES) in the Sumber Jaya District. United Nations University, Japan.
Khongnok, T. and T. Onpraphai. 2014. Use of geo-informatic system for assessing water requirement of In-season paddy rice and baby corns in Mae Tha sub-district, Mae on district, Chiang Mai province, pp. 398-408. In Graduate Research Conference 2014. Khon Kaen University, Khon Kaen. (in Thai)
Land Development Department. 2013. Geographic Information System Soil and Land use. Ministry of Agriculture and Cooperative, Bangkok. (in Thai)
Makarius, C.S.L., M. Patrick, N.M. Yonika and S.J. Goddy. 2016. Willingness to pay for watershed conservation: are we applying the right paradigm? Ecohydrology & Hydrobiology 17: 33-45.
Miller, S., P. Tait and P. Saunders. 2015. Estimating indigenous cultural values of freshwater: A choice experiment approach to Maori values in New Zealand. Ecological Economics 118: 207-214.
Mitchell, J.C. 1969. Social Networks in Urban Situations: Analyses of Personal Relationships in Central Africa Towns. Manchester University Press, Manchester.
Naropakarn, A. 2003. Impact of Land Use/Land Cover Changes on Water Balance and Flow timing Regimes of Mun River Watershed. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Nuchsawat, N. 2014. Farmer’s Willingness to Accept Compensation under Project for Management of Agriculture and Water Detention Area in the Lower Chao Phraya River Watershed. M.E. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Puangkaew, N. 2013. Assessment of Water Use for Agriculture in Phuket Province. M.S. Thesis, Price of Songkla University. (in Thai)
Royal Irrigation Department. 2014. Runoff Data. Regional Irrigation office, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok. (in Thai)
Shen, Z., K. Wakit., T. Oishi, N. Yagi, H. Kurokura, R. Blasiak and K. Furuya. 2015. Willingness to pay for ecosystem services of open oceans by choice-based conjoint analysis: A case study of Japanese residents. Ocean & Coastal Management 103: 1-8.
Suksawang, S. 2019. Payments for Ecosystem Services: PES. Available source: https://www.slideshare. net/catspa/pes-book-70431312, December 15, 2019. (in Thai)
Sutterlund, R.D. 1972. Wildland Watershed Management. The Ronald Press Co., New York.
Tangtham, N., S. Boonyawat and V. Udomchoke. 1995. Impact of Land Use Development on Water Balance of the Chao Phraya River Watershed. Research and Development Institute, Kasetsart University. (in Thai)
Tangtham, N., S. Boonyawat and K. Buchaboon. 1998. The impact of Land Use Development on Water Balance and Flow Timing in Chi Watershed. Research and Development Institute, Kasetsart University. (in Thai)
Thampitak, K. and A. Untong. 2010. An evaluation of recreational benefits of Nong Leng Sai Wetland. Journal of Economics 15(2): 69-90. (in Thai)
Tiewtoy, S., C. Suwan and T. Somjai. 2012. Water footprint of sugarcane and cassava for ethanol production in Eastern Thailand. Journal of the Thai Society of Agricultural Engineering 18(1): 69-75. (in Thai)
Vanichbancha, K. 2009. Multivariate Data Analysis. 4th ed. Department of Statistics, Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. (in Thai)
Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper International, New York.
Wiwatthanapornchai, S. 2015. Mangrove Ecosystem Services Value from Treated Wastewater for Community at Laem Phak Bia, Phetchaburi Province. Ph.D. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)