การผลิต การตลาด และการวิเคราะห์ทางการเงินจากการปลูกสวนไม้กฤษณา จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต การตลาด การวิเคราะห์ทางการเงินของการปลูกสวนไม้กฤษณา จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลผู้ปลูกสวนไม้กฤษณา จำนวน 133 ชุด นำข้อมูลที่เก็บได้ มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติอย่างง่าย เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สำหรับการวิเคราะห์ทางการเงินอาศัยตัวชี้วัดความเหมาะสมของโครงการ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ที่อัตราคิดลดร้อยละ 4, 6, 8, 10 และ 12 ตลอดจนทดสอบความแปรเปลี่ยนของโครงการ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปลูกสวนไม้กฤษณาเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.88 มีอายุเฉลี่ย 55.89 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 64.66 มีอาชีพหลักเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 55.64 มีพื้นที่ปลูกไม้กฤษณาเฉลี่ย 4.51 ไร่ ส่วนใหญ่มีการปลูกแบบวนเกษตร ผู้ปลูกมีการตัดไม้กฤษณาจำหน่ายจำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.27 โดยมีอายุรอบตัดฟันไม้ 10-15 ปี มีการจำหน่ายไม้กฤษณา 3 รูปแบบ คือ 1) ชิ้นไม้สับ ราคาเฉลี่ย 80 บาท/กิโลกรัม 2) ไม้ชิ้น ราคา 7,000–10,000 บาท/กิโลกรัม และ 3) น้ำมันกฤษณา ราคา 1,000–2,000 บาท/โตร่า การวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า ในทุกอัตราคิดลดที่กำหนด ค่า B/C มีค่า 1.50–4.60 ซึ่งมีค่า >1 ค่า NPV ให้ผลตอบแทน 23,030.47-360,238.81 บาทต่อไร่ ซึ่งมีค่า >0 และค่า IRR มีค่าร้อยละ 24.82-81.22 ซึ่งมีค่ามากกว่าอัตราคิดลดที่กำหนด แสดงว่าการลงทุนได้รับกำไร สำหรับค่าความแปรเปลี่ยนของผลตอบแทน มีค่าร้อยละ 33.24–78.25 และค่าความแปรเปลี่ยนของต้นทุน มีค่าร้อยละ 49.79–359.69 ซึ่งมีค่าสูงมาก แสดงว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ
คำสำคัญ: การผลิต การตลาด การวิเคราะห์ทางการเงิน การปลูกสร้างสวนป่า ไม้กฤษณา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
http://farmer.doae.go.th/, 8 October 2018. (in Thai)
Khao Yai National Park. 2020. Judicial Statistics. National Park, Wildlife and Plant Conservation Department, Bangkok. (in Thai)
Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 30 (3): 607 - 610.
Private Reforestation Division. 1999. Economic Forest Plantation Promotion Project since 1999. Promote Reforestation Bureau, Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)
Sawangying, E. 2007. A Financial Analysis of Investment on Agarwood in Pararubber farming : a Case Study of Community Enterprise in Kached Sub-district Muaeng Rayong District Rayong Province. Master's thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Suksard, S. 2002. Calculation of Interest, Discounts and Annuity for Forest Businesses. Faculty of Forestry, Kasetsart university, Bangkok. (in Thai)
_______ and A. Barombanyat. 2014. Financial Analysis of the Investment in Aquilaria crassna Plantaion, Production and Marketing of Agarwood in Rayong Province. Thai Journal of Forestry 33 (2): 103-112. (in Thai)
Vijitpan, P. 2006. Aquilaria crassna Ten billion Agarwood. Naka Inter Media, Bangkok. (in Thai)