การประเมินผลผลิตและการวิเคราะห์ทางการเงินของไม้ยมหินของสถานีวนวัฒนวิจัย ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์การประเมินผลผลิตและการวิเคราะห์ทางการเงินของไม้ยมหินของสถานีวนวัฒนวิจัย ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปวัฒน์ชัย พรหมเมศร
สันติ สุขสอาด
ทรงกลด จารุสมบัติ
ศุภศิษย์ ศรีอักขรินทร์
ชนิษฐา จันทโชติ

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการตารางปริมาตรของไม้ทำเป็นสินค้าได้ ตารางปริมาตรไม้ฟืนของไม้ยมหิน และวิเคราะห์ทางการเงินจากการปลูกไม้ยมหิน 6 ระยะปลูก ณ สถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ตัวชี้วัดความเหมาะสมของโครงการ 3 วิธี คือ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน (B/C) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 6, 8, 10 และ 12 และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนด้านต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการ


              ผลการศึกษาพบว่า ไม้ยมหินที่มี DBH > 10 เซนติเมตร มีสมการตารางปริมาตรไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ คือ VM = 0.000051523DBH2.692, R2 = 0.8667 และไม้ยมหินที่มี DBH < 10 เซนติเมตร มีสมการตารางปริมาตรไม้ฟืน คือ VF = 0.000126765 DBH2.583, R2 = 0.7686 โดยเมื่อทำการวิเคราะห์ทางการเงินของค่าเฉลี่ยของผลผลิตในระยะปลูกต่างๆ พบว่า ระยะปลูก 3x4, 3x5 และ 3x6 เมตร ณ อัตราส่วนลด ร้อยละ 6, 8 และ 10 และระยะปลูก 4x4, 4x5 และ 4x6 เมตร ณ อัตราส่วนลด ร้อยละ 6, 8, 10 และ 12 B/C มีค่ามากกว่า 1 NPV มีค่ามากกว่า 0 และ ค่า IRR มีค่ามากกว่าอัตราส่วนลดที่กำหนด แสดงว่า ไม้ยมหินระยะปลูกดังกล่าวได้รับกำไร โดยระยะปลูก 4x6 เมตร ได้รับกำไรสูงที่สุด มีค่า IRR เท่ากับร้อยละ 12.81 และการทดสอบความแปรเปลี่ยนด้านต้นทุนและผลประโยชน์ พบว่า ไม้ยมหินที่ระยะปลูก 3x4, 3x5, 3x6, 4x4, 4x5 และ 4x6 เมตร ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 6, 8 และ 10 มีค่าสูง แสดงว่า การปลูกไม้ยมหินมีความเสี่ยงในการลงทุนตํ่า ดังนั้น ไม้ยมหินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนปลูกไม้เศรษฐกิจ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. 2019. Loan rate. Available Source: https://www.baac.or.th/th/content-rate.php?content_group=0009&content_group_sub=0002, December 18, 2019. (in Thai)

Chanwowwam, B. 2002. Financial Analysis of Thong Pha Phum Teak Plantation, Kanchanaburi. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)

Forest Research and Development Bureau. 2010. General Characteristics of Thai Timbers. Royal Forestry Department, Bangkok. (in Thai)

Forestry Research Center. 2009. Tree Planting Project for a Long-term Cost. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Gardner, S., P. Sittisunthorn and K. Chayam. 2016. Forest in the South. Khopfai Printing Project, Bangkok. (in Thai)

Information Center, Royal Forest Department. 2019. Information Data, Royal Forest Department. Available Source: http://forestinfo.forest.go.th, October 20, 2019. (in Thai)

Poosaksai, P., S. Diloksumpun, R. Poolsiri and C. Chuntachot. 2018. Biomass and carbon storage of four forest tree species at Prachuap Khiri Khan silvicultural research station, Prachuap Khiri Khan province. Thai Journal of Forestry 37(2): 13-26. (in Thai)

Suksard, S. 2003. Forest Valuation. Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Suksard, S. and A. Kapmanee. 2015. Marketing and financial analysis of teak in Thong Pha Phum plantation, Kanchanaburi province. Thai Journal of Forestry 34(2): 62-72. (in Thai)

Suksard, S. and R. Yangkirativorn. 2017. Financial analysis of Acacia aulacocarpa A. Cunn. ex Benth. at Saithong silvicultural research station, Prachuap Khiri Khan province. Thai Journal of Forestry 36(2): 77-86. (in Thai)

Sukwong, S. 2009. Method of creating regression model in forest research. Journal of Forest Management 3(5): 89-98. (in Thai)