การใช้ประโยชน์ของป่าของชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคม ปริมาณและมูลค่าสุทธิการใช้ประโยชน์ของป่าของราษฎรที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลักเพื่อสัมภาษณหัวหน้าครัวเรือน หรือผู้แทนครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 400 ครัวเรือน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจสังคม จะใช้วิธีการแจกแจงในรูปค่าสถิติพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณ และมูลค่าสุทธิการใช้ประโยชน์ของป่า ใช้วิธีประเมินตามราคาตลาด
ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 56.75 อายุเฉลี่ย 52.23 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม (ทำนา) มีรายได้ และรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 50,000-100,000 บาทต่อปี มีที่ดินเป็นของตัวเอง และอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก หมู่บ้านรอบอุทยานแห่งชาติภูแลนคา 71 หมู่บ้าน มีการใช้ประโยชน์จากของป่า แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ หน่อไผ่ เห็ด พืชอาหาร ลำไผ่ สมุนไพร แมลงและไข่ของแมลง หวาย และอื่นๆ มีปริมาณการใช้ประโยชน์ของป่า 219 หน่วยต่อหมู่บ้านปี โดยบ้านปากห้วยเดื่อ มีปริมาณการใช้ประโยชน์ของป่ามากที่สุด 776 หน่วยต่อปี มูลค่าสุทธิการใช้ประโยชน์ของป่าที่เก็บหาได้ทั้งหมด ของชุมชนรอบอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เท่ากับ 183,593,362 บาทต่อปี โดยบ้านใหม่ห้วยกนทา มีมูลค่าสุทธิการใช้ประโยชน์ของป่ามากที่สุด เท่ากับ 8,126,610 บาทต่อปี
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Aeadkeaw, R. 2011. Utilization of Non-timber Forest Products of Peaple The Sao Sub-district Sai Yok District Kanchanaburi Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Bookaew, S. 2009. Valuation of Non-timber Forest Products Utilization in Khok Yai Community Forest in Can Sub-district, Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province. M.S. Thesis, Mahasarakham University. (in Thai)
Chinthakanan, W., B. Prachaiyo, P. Kenwisaet, M. Rungsaeng, T. Wongprasert and C. Jongkongkiet. 1996. Non Timber Forest Product and Household Economic of People of Ban Non-Um Nuai, Na Dan Sub-district, Tha Khan Tho District, Kalasin Province. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)
Forest Research Bureau, Royal Forest Department and Center for Applied Economics Research, Faculty of Econonics. 1998. Evaluation of Natural Resource in Protected Area Project: A Case Study of Huay Kha Khang Wildlife Sanctuary. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Jamekorn, S. 1980. Statistic Analysis for Social Research. Department of Statistics, Faculty of Science, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Khambouddaphanh, K. 2015. Direct Use Value of Forest Resources by Local People: Case Study of Aen Village Forest Viengsai District, Houaphan Province, Lao PDR. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Khetsakul, W. 2001. The Relationship Between Socio-Economic Factors and Utilization of Non-timber Forest Products of Communities Around Khao Soi-Dao Wildlife Sanctury. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Lucksivy, P. 2011. Dependency on Forest Resource of People Residing Around Buffer Zone of Nam Pui National Resevered Forest, Saiyaboury Province, Lao Peaple’s Democratic Republic. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Office of National Park. 2014. Phu Laen Kha. Available Source: http://www.park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE = 9135, July 12, 2014. (in Thai)
Pichaisiri, A. 2004. Factors Influencing the Utilization of Non-Timber Forest Products in Communities Around Phuluang Wildlife Sanctuary. M.S. Thesis, Mahidol University. (in Thai)
Piyavatin, S. 1999. The Relationship of Socio-Economic, Land Use and Dependency of Local People on Natural Resources in The Areas Adjacent to Khao Kitchakooj National Park. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Ponbumrung, A. 2004. Factors Affecting the Economic Value of Forest-Resource Utilization: A Case Study of Communities Located in Lumklong Ngoo National Park. M.S. Thesis, Mahidol University. (in Thai)
Puangmalee, J. 2013. Use Value of Non-Timber Forest Products at Khao Khew Community Forest, Hua Khao Sub-district, Doem Bang Nang Buat District, Suphan Buri Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Ruangpanit, N. 1999. The Conservation of Natural Resource and Environment. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Subanseni, W. 1996. Non Timber Forest Product in Thailand. Division of research and develop forest product, Forest Research Bureau, Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)
Suksard, S. 2004. Forest Products Maketing. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Tankaew, S. 2005. Utilization and Management of Non Yai Community Forest, Changwat Si Sa Ket. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.