ผลกระทบของละอองลอยในบรรยากาศที่เกิดจากไฟป่า และการเผาชีวมวลต่อลักษณะของฝนบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

วีนัส ต่วนเครือ
นิพนธ์ ตั้งธรรม

บทคัดย่อ

การเผาไหม้มวลชีวภาพทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นสาเหตุหลักของละอองลอยในบรรยากาศ (aerosols) มากขึ้นซึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเผา งานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของละอองลอยในบรรยากาศที่ต่อเมฆ และปริมาณน้ำฝนในบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม MODIS (Terra/Aqua) และข้อมูลจากสถานี AERONET ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003-2012  ผลการศึกษาพบว่า ค่าการสลัวลงของแสงจากละอองลอยในบรรยากาศ (AOT) มีค่าสูงสุดในฤดูก่อนมรสุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนมีนาคมบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยาและแพร่ (เฉลี่ยประมาณ 0.5) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจุดความร้อนจากการเผาชีวมวล (hotspot) และลดลงในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงฤดูฝนจะพบอนุภาคละอองลอยขนาดใหญ่เป็นส่วนใหญ่แต่ในช่วงฤดูก่อนมรสุมกับพบละอองลอยอนุภาคขนาดเล็กเกือบทั้งหมดซึ่งมาจากเขม่าควันไฟที่เกิดจากการเผาชีวมวลในช่วงนั้น ทั้งนี้ยังพบว่าปริมาณน้ำฝน (R) มีความสัมพันธ์มากกับปริมาณเมฆปกคลุมท้องฟ้า (CF) และปริมาณน้ำที่เป็นของเหลวในเมฆ (CWC) ในทิศทางเดียวกัน และมีความสัมพันธ์อย่างมากกับค่าการสลัวลงของแสงจากละอองลอยในอากาศ (AOT) และจุดความร้อน (HP) ในทิศทางตรงกันข้ามของทุกจังหวัด การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแสดงให้เห็นว่าละอองลอยในบรรยากาศมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับปริมาณน้ำฝนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พบข้อสังเกตว่าในปีใดที่มีการเผาชีวมวลสูงซึ่งทำให้เกิดละอองลอยในบรรยากาศมากอาจส่งผลทำให้ฝนเริ่มตกช้ากว่าปกติประมาณ 1-2 เดือน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ