การทดลองการพอกเมล็ดไม้ 4 ชนิด เพื่อใช้ในการฟื้นฟูป่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองการพอกเมล็ดไม้ 4 ชนิด เพื่อใช้ในการฟื้นฟูป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงผลของการพอกเมล็ดที่มีต่อการงอก การรอดตาย และการเติบโต ของเมล็ดไม้ 4 ชนิด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด 4 ซ้ำ 2 วิธี คือ เมล็ดที่พอก และเมล็ดที่ไม่พอก 4 ชนิดไม้ คือ พฤกษ์ ถ่อน นนทรีป่า และประดู่ป่า ในเรือนเพาะชำ ผลการศึกษาพบว่า ชนิดที่มีการงอกสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอก คือ ถ่อน และนนทรีป่า เท่ากับร้อยละ 24.0 และ 72.0 ตามลำดับ การรอดตายสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอก คือ ถ่อน และนนทรีป่า เท่ากับร้อยละ 100.0 ส่วนเมล็ดที่ไม่พอกคือ นนทรีป่า เท่ากับร้อยละ 94.50 การเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับชิดดินเฉลี่ยสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอกคือ พฤกษ์ ซึ่งมีค่าเท่ากันเท่ากับ 0.24 เซนติเมตร การเติบโตทางความสูงเฉลี่ยสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอกคือ ถ่อน และพฤกษ์ เท่ากับ 13.78 และ 11.84 เซนติเมตร ตามลำดับ มวลชีวภาพเหนือพื้นดินสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอกคือ พฤกษ์ เท่ากับ 0.83 และ 0.82 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และมวลชีวภาพใต้พื้นดินสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอกคือ พฤกษ์ ซึ่งมีค่าเท่ากันเท่ากับ 0.47 กรัมต่อต้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของเมล็ดที่พอกกับเมล็ดที่ไม่พอกโดยวิธี t-test พบว่าการพอกเมล็ดมีผลให้การงอกของนนทรีป่าและประดู่ป่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) การพอกเมล็ดมีผลให้การรอดตายของพฤกษ์ ถ่อน และนนทรีป่า มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) และการพอกเมล็ดมีผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับชิดดิน ความสูง มวลชีวภาพเหนือพื้นดินและมวลชีวภาพใต้พื้นดินของถ่อน มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01)
จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ถ่อน และพฤกษ์ เป็นชนิดไม้ที่มีความเป็นไปได้ในการใช้เทคนิคการพอกเมล็ดวิธีการนี้ก่อนนำไปปลูกฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ในขณะที่นนทรีป่านั้นไม่เหมาะสมกับการพอกเมล็ดวิธีนี้ ส่วนประดู่ป่าไม่เหมาะสมกับการพอกเมล็ดวิธีการนี้และการปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง อย่างไรก็ตาม การพอกเมล็ดยังมีผลต่อการเพิ่มปริมาณการงอกของเมล็ดและการเติบโตภายหลังการงอกไม่ชัดเจนในบางชนิด ดังนั้นจึงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมให้มากขึ้นในอนาคต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”