การกำหนดเขตเศรษฐกิจไม้สักสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

ปัญญาพร สำเร็จเฟื่องฟู
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์กำหนดเขตเศรษฐกิจไม้สัก โดยการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการปลูกไม้สักรายจังหวัด ภายใต้กรอบระยะเวลาของการวิเคราะห์ 20 ปี โดยใช้ราคาคงที่ (ปีฐาน พ.ศ.2562) อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 3 โดยมีตัวชี้วัดความคุ้มค่า คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เพื่อใช้ในการกำหนดเขตเศรษฐกิจไม้สักสำหรับการบริหารจัดการการปลูกไม้สักเชิงพาณิชย์ในภาพรวมของประเทศไทย


การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการปลูกไม้สัก เพื่อนำไปสู่การกำหนดเขตเศรษฐกิจไม้สักให้ความสำคัญด้านความแตกต่างของจังหวัดต่างๆ ในด้าน  ศักยภาพพื้นที่ มูลค่าที่ดิน และระยะทางขนส่ง ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมเป็นเขตเศรษฐกิจไม้สัก ได้แก่จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน น่าน และพะเยา โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิทางเศรษฐกิจ (NPV) ในช่วง 209,744-302,880  บาท/ไร่ การทราบถึงกลุ่มจังหวัดที่มีความเหมาะสมสูงสุดในการปลูกไม้สักจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนและที่สำคัญคือทำให้รัฐบาลกำหนดเขตเศรษฐกิจไม้สักได้ ซึ่งจะนำมาสู่การให้การสนับสนุนในรูปแบบต่าง เช่น โครงข่ายการตลาด ระบบรับรองแหล่งที่มาของไม้สัก การบริการขนส่ง หรือ ความสะดวกด้านกฎหมาย


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Boadway, R. 2006. Principles of cost-benefit analysis. Public Policy Review 2(1): 1-44.

Brander, L. 2015. Guidance Manual on Value Transfer Methods for Ecosystem Services. United Nations Publications, Nairobi.

Faculty of Forestry. 2017. Strategy and Action Plan for Extension of Integrated Economic Trees (2018-2036). Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Phusudswang, A. 2010. Teak Plantation and Management as Economy for Farmer and Private Sector. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)

Pradit, O. 2010. Economic feasibility of teak plantation by small farmer in Chiang Mai province. Journal of Agriculture 27(special): 163-172. (in Thai)

Rasmussen, S. 2010. Production Economics: The Basic Theory of Production Optimisation. Springer-Verlag Berlin Heidelberg, Berlin.

Sommeechai, M., K. Tangkit, P. Siripant, K. Prasertsit, K. Thaweesaksri, R. Prancharoung and A. Rodsaen. 2019. Guide Economic Trees Plantation. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)

Sripraram, D., L. Puangchit, S. Diloksumpun, S. Teejuntuk, N. Jumwong, L. Thaopimai and T. Sangthong. 2010. Characterization of Plants Optimal Greenhouse Gas Absorption and Area Size for Forest Sector Clean Development Mechanism: Complete Report. Faculty of Forestry, Kasetsart University and Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization). Bangkok. (in Thai)

Vacharankura, T., I. Satoshi, I. Noda, W. Himmapan, V. Krongkitsiri and D. Kamolpanit. 2011. Yield Table for Teak Plantation in The Northeast of Thailand. RFD-JIRCAS Joint Research Project. Bangkok. (in Thai)

Vacharankura, T., W. Himmapan, P. Rupporn and J. Noreewech. 2015. Guide for Commercial Thinning. Keawjawjom Printing & Publishing Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok. (in Thai)

Viriyabancha, C. and C. Wachrinrat. 2013. Thai Teak Knowledge. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)

Viriyabancha, C., P. Chittachumnonk, C. Sutthisrisinn, S. Sumrann and K. Peawsa-ad. 2002. Adjusting equation to estimate the above-ground biomass of Teak plantation in Thailand, pp 239-260. In P. Chittachumnonk, ed. Proceeding of 7th Silvicultural Seminar. December 12-14, 2001. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)