การทดลองพันธุ์ไม้พื้นเมืองโตเร็วในสถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด

Main Article Content

พีรชา มณีชาติ
สันต์ เกตุปราณีต
ณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์
จงรัก วัชรินทร์รัตน์

บทคัดย่อ

การทดลองพันธุ์ไม้พื้นเมืองโตเร็วได้ดำเนินการที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเติบโต ผลผลิตของพันธุ์ไม้พื้นเมืองโตเร็ว และคัดเลือกชนิดไม้พื้นเมืองโตเร็วที่มีความเหมาะสมในการปลูกในสภาพพื้นที่ ใช้แผนการทดลองแบบ randomized complete block design มีพันธุ์ไม้โตเร็ว 4 ชนิด (tree species) มี 4 ซ้ำ (replication) ในแต่ละซ้ำเก็บข้อมูลพันธุ์ไม้ชนิดละ 36 ต้น ระยะปลูก 2 x 2 เมตร 


                ผลการศึกษา พบว่าการรอดตายและการเติบโตของไม้ทั้ง 4 ชนิดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) สรุปได้ว่า กระทุ่ม ปออีเก้ง และ ขนุนป่า มีอัตราร้อยละการรอดตาย เท่ากับ 16.67, 63.20 และ 63.89 ตามลำดับ มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยเท่ากับ 17.47, 9.80 และ 9.46 เซนติเมตร ตามลำดับ มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 16.23, 10.86 และ 9.67 เมตร ตามลำดับ มีความเพิ่มพูนทางเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกรายปีเฉลี่ยเท่ากับ  2.18, 1.23 และ 1.18 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ มีความเพิ่มพูนทางความสูงทั้งหมดรายปีเฉลี่ยเท่ากับ 2.03, 1.36 และ 1.21 เมตรต่อปี ตามลำดับ ส่วนมวลชีวภาพทั้งหมด เท่ากับ 8.25, 6.75 และ 4.41 ตันต่อไร่ ตามลำดับ และความเพิ่มพูนของมวลชีวภาพทั้งหมดรายปีเฉลี่ยเท่ากับ 1.03, 0.85 และ 0.55 ตันต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ และเมื่อนำไม้พื้นเมืองโตเร็ว 3 ชนิดเปรียบเทียบกับไม้กระถินเทพา พบว่า กระถินเทพามีค่าดังกล่าวสูงกว่าไม้พื้นเมืองโตเร็วทั้ง 3 ชนิดทั้งหมด การคัดเลือกชนิดไม้ที่เหมาะสมในการศึกษาครั้งนี้ โดยพิจารณาจากลักษณะที่ทำการศึกษาต่างๆโดยรวม สรุปว่าชนิดไม้ที่เหมาะสมในการปลูกในสภาพพื้นที่คือ กระทุ่ม  เนื่องจากจัดอยู่ในกลุ่มที่มีการเติบโตและผลผลิตโดยรวมสูง แต่ต้องพัฒนาให้มีอัตราร้อยละการรอดตายสูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ