การเติบโตและมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้เสม็ดขาว ในสวนป่าท่ากุ่ม โนโบรุ อุเมดะ จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเติบโตและมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้เสม็ดขาว อายุ 29 ปี ที่ปลูกในสวนป่าท่ากุ่มโนโบรุ อุเมดะ จังหวัดตราด ได้ทำการศึกษาใน 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง 7-9 เดือนในรอบปี และพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี โดยในแต่ละพื้นที่ทำการวางแปลงตัวอย่างแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ ขนาดแปลง 40x40 เมตร จำนวน 3 แปลง ทำการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (DBH) และความสูงทั้งหมด (H) ของไม้เสม็ดขาวทุกต้นในแปลง เพื่อสร้างสมการมวลชีวภาพในรูปของ allometric relation โดยวิธีการตัดฟันไม้และเปรียบเทียบการเติบโตและปริมาณมวลชีวภาพของลำต้น (Ws) กิ่ง (Wb) ใบ (Wl) และมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน (Wa) ของไม้เสม็ดขาวที่ปลูกในสองพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่าไม้เสม็ดขาวที่ปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง 7-9 เดือน/ปีและพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี มีความหนาแน่นเฉลี่ย 90.67 และ 150.33 ต้น/ไร่ มีค่า DBH เฉลี่ย 18.91 และ 18.41 เซนติเมตร และมีค่า H เฉลี่ย 14.66 และ 15.19 เมตร ตามลำดับ ไม้เสม็ดขาวในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง 7-9 เดือนในรอบปีและในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปีมีค่า Ws Wb Wl และ Wa เฉลี่ย 11,762.81 2,696.07 289.23 15,327.93 19,110.36 4,231.28 458.03 และ 24,898.67 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และพบว่า อิทธิผลจากน้ำท่วมขังในสองพื้นที่ที่มีระยะเวลาต่างกันเพียง 3-5 เดือน ไม่เพียงพอที่จะทำให้ความหนาแน่น การเติบโต และปริมาณผลผลิตมวลชีวภาพของไม้เสม็ดขาวแตกต่างกันทางสถิติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”