มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในสวนไผ่ 4 ชนิดที่มีอายุลำต่างกัน ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามวลชีวภาพเหนือพื้นดินในสวนไผ่ที่มีอายุต่างกัน ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาในสวนไผ่ 4 ชนิด ได้แก่ ไผ่บงป่า (Bambusa longispatha) ไผ่บงใหญ่ (Dendrocalamus brandisii) ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) และไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ที่ลำอายุ 1, 2, 3 และ 4 ปีขึ้นไป ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design; RCBD) โดยวางแปลงขนาด 20x20 เมตร จำนวน 2 แปลง ในแต่ละชนิด
จากผลการศึกษา พบว่า การเติบโตทางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของไผ่บงป่าทั้ง 4 ชั้นอายุ มีค่าระหว่าง 3.43-3.85 เซนติเมตร ไผ่บงใหญ่มีค่าระหว่าง 12.73-13.84 เซนติเมตร ไผ่หกมีค่าระหว่าง 8.86-9.62 เซนติเมตร และไผ่หวานอ่างขางมีค่าระหว่าง 7.13-8.74 เซนติเมตร ส่วนการเติบโตทางความสูง ไผ่บงป่ามีค่าระหว่าง 8.75-10.11 เมตร ไผ่บงใหญ่มีค่าระหว่าง 20.80-23.34 เมตร ไผ่หกมีค่าระหว่าง 20.02-21.31 เมตร และไผ่หวานอ่างขางมีค่าระหว่าง 10.07-15.13 เมตร ส่วนมวลชีวภาพรวมทั้ง 4 ชั้นอายุ ไผ่บงใหญ่มีมากที่สุด รองลงมาคือ ไผ่หก ไผ่บงป่า และ
ไผ่หวานอ่างขาง โดยมีค่าเท่ากับ 87.83, 84.58, 27.39 และ 20.82 ตันต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ซึ่งเป็นมวลชีวภาพของลำร้อยละ 80-87 กิ่งร้อยละ 7-16 และใบร้อยละ 3-6
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”