ลักษณะทางกายวิภาคของเซลล์ผิวของใบไผ่บางชนิด ในสกุล Bambusa Dendrocalamus และสกุล Gigantochloa
Main Article Content
บทคัดย่อ
ลักษณะทางกายวิภาคของเนื้อเยื่อชั้นผิวของใบสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดจำแนกไผ่ในแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ในการศึกษาใช้ตัวอย่างใบไผ่แห้งจากพิพิธภัณฑ์ไผ่คณะวนศาสตร์และจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ศึกษาเฉพาะไผ่ที่พบในประเทศไทยจำนวน 3 สกุล รวม 15 ชนิด ได้แก่ สกุล Gigantochloa 2 ชนิด คือ ไผ่ด้ามพร้า (G. ligulata) ไผ่ไร่ (G. albociliata) สกุล Bambusa 5 ชนิด คือ ไผ่ลำมะลอก (B. longispiculata) ไผ่บงดำ (B. tulda) ไผ่ป่า (B. bambos) ไผ่เขียว (B. vulgaris) ไผ่บงหวานเมืองเลย (B. burmanica) และสกุล Dendrocalalmus 8 ชนิด คือ ไผ่นวล (D. pendulus) ไผ่รวกเขา (D. dumosus) ไผ่มันหมู (D. copelandii) ไผ่ซางดำ (D. strictus) ไผ่ซางนวล (D. membranaceus) ไผ่หก (D. hamiltonii) ไผ่บงใหญ่ (D. brandisii ) และไผ่กระโรม (D. khoonmengii) ทำการศึกษาโดยทำสไลด์ถาวรด้านตัดขวางของใบ และศึกษาลักษณะเซลล์ผิวภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลการศึกษาพบว่า เนื้อเยื่อผิวของใบไผ่ประกอบด้วยเซลล์ผิวปกติ (normal epidermal cells) เซลล์ยนต์ (bulliform cells) ขน (trichomes) และปากใบ (stomata) นอกจากนั้นยังมีผลึกซิลิกาแบบต่างๆแทรกอยู่ ชั้นเซลล์ผิวแบบปกติด้านบนของใบไผ่เกือบทุกชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกันตลอดช่วงของเซลล์ยนต์ และส่วนใหญ่พบเซลล์ยนต์ทั้งสองลักษณะ คือมีส่วนยอดต่ำกว่าเซลล์ผิว และเซลล์ยนต์ที่มีส่วนยอดโผล่เหนือเซลล์ผิวด้านบน ไผ่บงหวานเมืองเลย พบซิลิการูปพัดในเซลล์ยนต์ตลอดทั้งแผ่นใบ ไผ่ซางนวล และไผ่นวล ไม่พบซิลิกาภายในเซลล์ยนต์ ไผ่เขียว พบขนกระจายทั่วไปที่เซลล์ผิวทั้งสองด้าน แต่ไผ่รวกเขา ไผ่มันหมู และไผ่หก พบขนกระจายทั่วไปเฉพาะที่เซลล์ผิวด้านล่าง สำหรับไผ่กระโรม ไผ่ซางนวล และไผ่ซางดำ พบติ่งทึบ (thick papillae trichome) ที่เซลล์ผิวด้านบน และไผ่ไร่ ปรากฏขนเพียง 2 ขนต่อหนึ่งช่วงของเซลล์ยนต์ตลอดทั้งแผ่นใบ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”