การผลิตน้ำมันกฤษณาในพื้นที่ศึกษาจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการดำเนินธุรกิจการกลั่นน้ำมันกฤษณาเพื่อการพาณิชย์และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินที่ได้รับจากการผลิตน้ำมันกฤษณาในจังหวัดจันทบุรี โดยใช้การสัมภาษณ์บุคคลแบบเชิงลึกกับผู้ประกอบการกลั่นน้ำมันกฤษณาจำนวน 7 ราย ช่วงเวลาที่ทำการวิจัยตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและใช้สถิติอย่างง่าย เพื่อประเมินผลตอบแทนทางการเงินที่ได้รับจากการผลิตน้ำมันกฤษณาต่อหนึ่งรอบกลั่น และประมาณการกำไรสุทธิต่อปี
จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการดำเนินธุรกิจกลั่นน้ำมันกฤษณาจังหวัดจันทบุรีในภาพรวมมีความคล้ายคลึงกันคือ ทุกรายมีการซื้อต้นกฤษณาเพื่อทำการกระตุ้นให้เกิดสารกฤษณา และนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นให้เป็นน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 100 มีบางรายรับซื้อไม้ที่กระตุ้นแล้วเพื่อนำไปกลั่นคิดเป็นร้อยละ 28.57 รับซื้อน้ำมันกฤษณาที่ผ่านการกลั่นแล้วเพื่อจำหน่ายต่อไปคิดเป็นร้อยละ 28.57 เชื้อเพลิงในการกลั่นนิยมใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) เนื่องจากสะดวกทั้งควบคุมอุณหภูมิและการดำเนินงาน รายได้เฉลี่ยต่อรายต่อรอบกลั่นเท่ากับ 72,695.36 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อรายต่อรอบกลั่นเท่ากับ 38,371.71 บาท กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อรายต่อรอบกลั่นเท่ากับ 12,283.51 บาท กำไรสุทธิจากการกลั่นน้ำมันกฤษณาต่อหนึ่งรอบกลั่นต่ำสุดเท่ากับ 1,035.86 บาท สูงสุดเท่ากับ 31,219.02 บาท ส่วนกำไรสุทธิต่อปีของผู้ประกอบการทั้ง 7 ราย ต่ำสุดเท่ากับ 49,721.44 บาท สูงสุดเท่ากับ 1,498,513.09 บาท
ทั้งนี้กำไรสุทธินอกจากขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิตในด้านต่างๆ แล้ว ยังขึ้นอยู่กับจำนวนหม้อกลั่นในแต่ละรอบและความถี่ที่กลั่นในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยังพบว่าค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญต่อกำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งแนวโน้มการปรับตัวที่สูงขึ้นในปัจจุบันล้วนส่งผลต่อกำไรสุทธิให้ลดลง อย่างไรก็ตาม การกลั่นในแต่ละรอบกลั่นยังให้กำไร ดังนั้น การกลั่นน้ำมันกฤษณายังเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนเพราะยังทำกำไรให้กับผู้ประกอบการ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”