ผลผลิตและปริมาณสารอาหารของยูคาลิปตัสสายต้นต่างๆ อายุ 5 ปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Main Article Content

มานะ หนูแก้ว
รุ่งเรือง พูลศิริ
มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์
พัฒนา ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลผลิตและปริมาณสารอาหารของยูคาลิปตัสอายุ 5 ปี ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียง
เหนือตอนบน ได้ดำเนินการศึกษาใน 3 พื้นที่ 1) อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี (WM) 2) อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม (BP) 3) อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ (SK) วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design, RCBD) จำนวน 3 บล็อก (block) บล็อกละ 5 สายต้น สายต้นละ 16 ต้น ในแต่ละสายต้นมีระยะปลูก 3x3 เมตร ซึ่งสายต้นที่ศึกษา ได้แก่ SF1, SF2, SF3, SF4 และ SF5


ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่อำเภอวังสามหมอ สายต้น SF5 มีผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากที่สุด (144.59 ตันต่อเฮกแตร์) และพื้นที่อำเภอบ้านแพง สายต้น SF1 มีผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากที่สุด (129.73 ตันต่อเฮกแตร์) ส่วนพื้นที่อำเภอเซกา สายต้น SF4 มีผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากที่สุด (158.26 ตันต่อเฮกแตร์) โดยพบว่าความแตกต่างของยูคาลิปตัสแต่ละสายต้นมีผลต่อปริมาณผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การสะสมสารอาหารในยูคาลิปตัสทั้ง 5 สายต้น พบว่า ปริมาณแคลเซียมมีการสะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม ซึ่งมีแนวโน้มเดียวกันทั้ง 3 พื้นที่ และพบว่าใบมีความเข้มข้นของสารอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ กิ่ง และลำต้น ซึ่งลำต้นจะเป็นส่วนที่มีการสะสมสารอาหารมากที่สุดเนื่องจากมีมวลชีวภาพมากที่สุด และการสะสมสารอาหารจะแปรผันตามสายต้นและ/หรือลักษณะพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ