ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน พื้นที่หาดสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ระดับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนพื้นที่หาดสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่าง จำนวน 381 ครัวเรือน จากจำนวน 8,203 ครัวเรือน ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test ค่า F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ LSD กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.90 มีอายุเฉลี่ย 46.36 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 58.00 เป็นหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ 63.00 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.94 คน ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 39.90 มีรายได้สุทธิต่อเดือนเฉลี่ย 8,518.37 บาท มีระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 30.99 ปี โดยส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ ร้อยละ 92.40 ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 74.80 มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.43 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.98 และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวม 2.83 การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านอายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพ รายได้สุทธิต่อเดือน ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนพื้นที่หาดสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”