ความผันแปรของสมดุลพลังงานตามสัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่แตกต่างกัน

Main Article Content

ภาคิน สุชาตานนท์
สุรัตน์ บัวเลิศ
สุจิณณา กรรณสูต

บทคัดย่อ

การศึกษาความผันแปรของสมดุลพลังงานในพื้นที่สีเขียว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือ 3D Sonic Anemometer ตรวจวัดในช่วงฤดูร้อน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผันแปรของสมดุลพลังงานในสัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่แตกต่างกัน 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ทดลองที่ 1 (พื้นหญ้าร้อยละ 75 พื้นน้ำร้อยละ 25) และพื้นที่ทดลองที่ 2 (พื้นหญ้าร้อยละ 25 พื้นน้ำร้อยละ 75) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีสัดส่วนของพื้นที่น้ำแตกต่างกัน โดยการเปรียบเทียบค่าความร้อนที่ใช้ในการระเหยน้ำ ความร้อนที่ใช้ในการเผาผลาญอากาศ ความร้อนที่ไหลลงดิน โดยทำการวัดเก็บข้อมูลทุกๆ 30 นาที 


ผลการศึกษาพบว่าสมดุลพลังงานถูกนำไปใช้สำหรับเป็นความร้อนในการระเหยน้ำมากที่สุด ในส่วนของพื้นที่ทดลองที่ 1  ถูกนำไปใช้ร้อยละ 62 และในพื้นที่ทดลองที่ 2  ถูกใช้ไปถึงร้อยละ 76 รองลงมาคือความร้อนที่ไหลลงดิน ซึ่งทั้งพื้นที่ทดลองที่ 1  และ พื้นที่ทดลองที่ 2  ถูกใช้ไปร้อยละ 34 และ ร้อยละ 16 ตามลำดับ ในส่วนของความร้อนที่ใช้ในการเผาผลาญอากาศทั้ง พื้นที่ทดลองที่ 1และ พื้นที่ทดลองที่ 2 ถูกใช้ไปร้อยละ 4 และร้อยละ 8 ตามลำดับ ส่วนอุณหภูมิในบรรยากาศนั้นจะเห็นได้ว่าบริเวณ พื้นที่ทดลองที่ 1 จะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าบริเวณ พื้นที่ทดลองที่ 2 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33.47 Co  และ 30.71 Co ตามลำดับ จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าอุณหภูมิบรรยากาศแปรผกผันกับพื้นน้ำเนื่องจากความร้อนถูกนำไปใช้ในการระเหยน้ำ ความร้อนที่ใช้ในการเผาผลาญอากาศจึงมีค่าน้อยลง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ