ศักยภาพด้านชีวภาพของเชื้อแอคติโนมัยสีทจากดินป่าชายเลนจังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านชีวภาพของเชื้อแอคติโนมัยสีทที่แยกได้จากดินป่าชายเลน เพื่อคัดเลือกเชื้อที่มีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์และการผลิตสารยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคพืชทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในภาคเกษตรกรรม จากผลการทดลองสามารถคัดแยกเชื้อแอคติโนมัยสีทได้จำนวน 90 สายพันธุ์ โดยเชื้อแอคติโนมัยสีท จำนวน 14 (15.5 %), 14 (15.5 %), 18 (20.0 %) และ 2 (2.2%) สายพันธุ์ แสดงศักยภาพในการผลิตเอนไซม์โปรตีนเนส ไซแลนเนส ซีเอ็มซีเอส และอาวิเซลเลส ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อแอคติโนมัยสีท จำนวน 10 ไอโซเลท (11.1%) สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคพืชได้ ผลการระบุชนิดโดยใช้ลำดับเบสของยีนในช่วง 16S rDNA พบเชื้อแอคติโนมัยสีทจำนวน 9 สายพันธุ์ เป็นสกุล Streptomyces และอีกจำนวน 1สายพันธุ์เป็นสกุล Micromonospora สรุปได้ว่า เชื้อแอคติโนมัยสีทที่แยกได้จากป่าชายเลนนี้เป็นเชื้อที่มีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์และการผลิตสารยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย อย่างไรก็ตามการศึกษาต่อยอดในเรื่องคุณสมบัติของเอนไซม์และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”