การประยุกต์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสม ต่อการกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณเกาะล้าน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อนการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผ่านมายังพบปัญหาการเรียกร้องสิทธิ์หลังการประกาศพื้นที่ป่าสงวนอยู่บ่อยครั้ง เพื่อลดปัญหาดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ภาพถ่ายทางอากาศมาวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินย้อนกลับไปในอดีต โดยใช้เทคนิคการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ประกอบกับเทคนิคการซ้อนทับ ของภาพถ่าย 9 ชั้นปี ในปี พ.ศ. 2496, 2510, 2517, 2525, 2533, 2539, 2545, 2553 และ 2556 เพื่อจำแนกระดับความเหมาะสม สำหรับนำไปประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการประกาศป่าสงวนแห่งชาติ โดยใช้พื้นที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากยังเป็นพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
พื้นที่เกาะล้านทั้งหมด 3,276.07 ไร่ พบพื้นที่ที่มีร่องรอยการใช้ประโยชน์มีแนวโน้มลดลง จาก 1,265.27 ไร่ ในปี พ.ศ. 2496 เหลือเพียง 659.49 ไร่ ในปี พ.ศ. 2556 หลังจากกันพื้นที่ที่มีการครอบครองตามกฎหมายออก พบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1) พื้นที่ที่ประกาศได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการทำประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 1,146.93 ไร่ 2) พื้นที่ที่ต้องมีการพิสูจน์สิทธิ์ก่อนประกาศ เนื่องจากพบร่องรอยการใช้ประโยชน์ในอดีต คิดเป็นเนื้อที่ 994.68 ไร่ และ 3) พื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการทำประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 66.25 ไร่ โดยข้อมูลเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการเรียกร้องสิทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นหลังการประกาศ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Chouchom, A. 2018. Applications uses an Unmanned Aerial Vehicle (Drone) or UAV for the protection of national parks. Journal of Forest Management 12(24): 78-84. (in Thai)
Department of Lands. 2010. Landsmaps. Available source: http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/, April 10, 2018. (in Thai)
Diloksumpun, P. 1996. Intergration of Aerial Photo-Interpretation, Geographic Information System and Data Processing System for Forest Management Planning of Mae Teep Sector, Mae Ngao Demonstration Forest, Lampang. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Environmental Systems Research Institute. 2016. Overlay Analysis. Available source: http://desktop.arcgis.com/en/arcmap/10.3/analyze/commonly-used-tools/overlay-analysis.htm, April 3, 2018.
Forest Land Management Office, Royal Forest Department. 2010. Handbook Forest Land Management. Bangkok. (in Thai)
Forest Land Management Office, Royal Forest Department. 2018. Forest Area Classification Using Satellite Imagery Project. Bangkok. (in Thai)
Forest Resource Management Office No.9 (Chon Buri), Royal Forest Department. 2014. Survey Background in the Koh Larn, Bang Lamung District, Chonburi Province for Announce Additional National Forest in the Year 2014. Chon Buri. (in Thai)
Internal Security Operations Command under Ministry of Natural Resources and Environment. 2014. Model Scheme for Solving the Problem of Destruction the Forest Resources, Government Land Invasion and Sustainable Management of Natural Resources. Available source: http:// banpong.dnp.go.th/banpong/data/data_046.pdf, January 28, 2021. (in Thai)
Khongthone, C. and W. Khunrattanasiri 2011. Application of geomatic data for proving land occupation and land use of Phetchaburi Rajabhat university, Pong Salod campus, Ban Lat district, Phetchaburi province. Journal of Forest Management 5(9): 29-45. (in Thai)
Office of the State Land Management under Office of the Permanent Secretary. 2013. Handbook for Aerial Interpretation of Aerial Interpretation Subcommittee. Bangkok. (in Thai)
Phojsompong, S. 2002. A Spatial Analysis for Proving Land Ownership and Utilization in the Rasi Salai Dam Project: A Case Study of Tambon Nong Khae, Amphoe Rasi Salai, Changwat Si Sa Ket. M.S. Thesis, Ramkhamhaeng University. (in Thai)
Phojsompong, S. 2019. In case of checking the document of right issued in mapsheet 5432-I 1626 list of Piyaporn-Somchai Groups Baan Jake Bae, Koh Chang Tai, Koh Chang, Trat. in Mangrove Resource Conservation Division. pp. 57-66 in training program. Proof of Warrants in Land in Mangrove Forests, Using Aerial Photographs. May 15-17, 2019. Department of Marine and Coastal Resources. Phetchaburi. (in Thai)
The Secretariat of the Cabinet. 2015. Ministerial Regulations for Requesting Permission and Permission to Use in the Forest Area in 2015. August 10, 2015. Prime Minister's Office. Bangkok. (in Thai)
The Secretariat of the Cabinet. 2020. Regulation of the Community Forest Policy Committee on Determining the Size of Community Forest Areas and the Proportion of Utilization within Community Forest Areas in 2020. November 25, 2020. Prime Minister's Office. Bangkok. (in Thai)
Wongsrinil, P. 2009. Forestry and the process of proving rights to restore fairness to the state and people. Journal of Forest Management 3(6): 117-121. (in Thai)