ความรู้พื้นฐานด้านนกแอ่นกินรังเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
นกแอ่นกินรังเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยได้อย่างมหาศาล ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในก้าวที่สำคัญต่อการส่งเสริมให้นกแอ่นกินรังกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชาติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนทั้งทางด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดการทำบ้านนกแอ่นกินรังในอาคารส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามองค์ความรู้เกี่ยวกับนกแอ่นกินรังในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการจัดการนกแอ่นกินรังทั้งในแง่การใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สัตว์ป่ายังมีค่อนข้างจำกัด บทความวิชาการนี้ได้รวบรวมความรู้พื้นฐานทางด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกแอ่นกินรังที่มีปรากฏในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นมาตรฐาน นิเวศวิทยา ชีววิทยาของนกแอ่นกินรัง สถานภาพของนกแอ่นกินรัง พฤติกรรมของนกแอ่นกินรัง อาหารและพื้นที่หากิน และการใช้ประโยชน์รังนกแอ่นกินรัง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมนี้จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพและการสนับสนุนการตัดสินใจในการขับเคลื่อนการดำเนินการต่างๆ ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและเอกชนเพื่อใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
คำสำคัญ: นกแอ่นกินรัง, บ้านนก, พื้นฐานความรู้, การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”