การจัดการการท่องเที่ยวสัตว์ป่า กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ การท่องเที่ยวสัตว์ป่าของประเทศไทย

Main Article Content

แสงสรรค์ ภูมิสถาน
นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวสัตว์ป่า เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวทางธรรมชาติรูปแบบหนึ่งที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับสากล อันเนื่องมาจากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่หันมาให้ความสนใจต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากขึ้น แนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในประเทศไทยได้ถูกบรรจุในแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอ 1) หลักการและแนวคิดการจัดการการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในพื้นที่ธรรมชาติ 2) วิเคราะห์การจัดการการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสัตว์ป่าที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยให้มีมาตรฐานและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยได้นำเสนอแนวทางการจัดการ ประกอบด้วย การจัดการสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัย การกำหนดมาตรฐานพาหนะสำหรับใช้นำเที่ยวชมสัตว์ป่า การฝึกอบรมมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวเฉพาะ กลไกการบริหารจัดการการท่องเที่ยวสัตว์ป่า ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวสัตว์ป่าอย่างเป็นรูปธรรม และการศึกษาการตลาดการท่องเที่ยวสัตว์ป่า

Article Details

บท
บทความวิจัยสั้น