โครงสร้างประชากรและกิจกรรมออกหากินของช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ประวิทย์ อินทร์น้อย
ยงยุทธ ไตรสุรัตน์
รองลาภ สุขมาสรวง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างประชากรและกิจกรรมของช้างป่า (Elephas maximus) เพื่อวางแผนการจัดการประชากรช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าเพื่อศึกษาสัดส่วนของเพศและจำแนกชั้นอายุ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมออกหากินของช้างป่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 รวมเป็นเวลา 6 เดือน


ผลการศึกษา โครงสร้างประชากรของช้างป่า แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ช้างเพศผู้โตเต็มวัย ช้างเพศเมียโตเต็มวัย ช้างใกล้โตเต็มวัย ช้างวัยรุ่น และลูกช้างเล็กเท่ากับ 1:5.7:0.8:3:1.3 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย เท่ากับ 1:5.7 และอัตราการสืบพันธุ์ระหว่างช้างเพศเมียโตเต็มวัย ช้างวัยรุ่น และลูกช้างเล็ก เท่ากับ 1: 0.5: 0.2 มีค่าดัชนีความมากมายสัมพัทธ์ (RAI) ร้อยละ 11.6 และค่าความถี่สัมพัทธ์ (RF) ร้อยละ 100 กิจกรรมการออกหากินในช่วงเวลากลางวันมากกว่าช่วงเวลากลางคืนอย่างมีนัยสำคัญ (gif.latex?{x}^{2} = 57.019, df = 17, p < 0.001) ช่วงเวลาที่ช้างป่าทำกิจกรรมออกหากินมากที่สุดมี 2 ช่วงเวลาได้แก่ 08.00 น. ถึง 10.00 น. และช่วงเวลา 15.00 น. ถึง 17.00 น.


จากงานวิจัยนี้ พบว่า โครงสร้างประชากรช้างป่าในทุ่งสลักพระมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีสัดส่วนตัวเมียโตเต็มวัย ช้างวัยรุ่น และลูกช้างเพิ่มขึ้นเปรียบเทียบกับผลการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีการสำรวจโครงสร้างประชากรช้างป่าทุก 5-10 ปี จะทำให้สามารถเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระได้ดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ