การออกแบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อการดำเนินการป่าไม้ ของสวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
สิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการจัดการสวนป่า คือ การดำเนินงานด้านป่าไม้
เช่น การสำรวจกำลังผลิต การพยากรณ์ผลผลิต การทำไม้ และการวางแผนการปลูก ซึ่งจะต้องดำเนินการทุกปีเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปลูกป่า ในอดีตการดำเนินงานด้านป่าไม้อาศัยประสบการณ์ของหัวหน้างานสวนป่าที่คุ้นเคยกับสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า ปัจจุบันตามเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมีความก้าวหน้าอย่างมาก การรับข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น แต่ข้อมูลเชิงบรรยาย ยังมีอุปสรรคในการเชื่อมต่อกับข้อมูลเชิงพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลประจำปีจากสวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งนำข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยายมาสร้างฐานข้อมูล ตรวจสอบและวิเคราะห์การดำเนินงานของสวนป่า
ผลการศึกษา พบว่า การคำนวณปริมาณไม้ที่สวนป่าลาดกระทิงดำเนินการทำไม้ ชนิดไม้ยูคาลิปตัส และชนิดไม้กระถินเทพา ปี พ.ศ. 2549-2561 พบว่า มีค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) เท่ากับ 2,082.03 และ 1,997.78 ตัน ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.181 และ 0.071 ส่วนพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าช่วงเวลาเดียวกัน ค่า RMSE เท่ากับ 396.05 ไร่ จากการเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.126 ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ได้ออกแบบสามารถนำไปใช้งานได้จริงสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ โดยจะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการระบบฯ ออกแบบฐานข้อมูล ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทดสอบและประเมินผล
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”