การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนและระบุตำแหน่ง ในการติดตามการใช้งานเลื่อยโซ่ยนต์

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ บุญเดช
นพรัตน์ คัดคุริวาระ
ศุภกิตต์ สายสุนทร

บทคัดย่อ

การพัฒนาอุปกรณ์ติดตามการใช้งานเลื่อยโซ่ยนต์ เพื่อตรวจสอบลักษณะการทำงาน ตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน ตลอดจนติดตามตำแหน่งการใช้งาน อุปกรณ์ต้นแบบถูกพัฒนาขึ้นจากบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ พร้อมติดตั้งเซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน 3 แกน โมดูลจีพีเอส โมดูลบันทึกข้อมูล สวิทซ์ปิด-เปิด และหลอดไฟแสดงสถานะ ชิ้นส่วนหลักเชื่อมต่อลงบนแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ขนาด 50 x 70 มิลลิเมตร ติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับเลื่อยโซ่ยนต์บริเวณด้ามจับด้านขวา การทดสอบความคลาดเคลื่อนในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์พบว่า ช่วงเช้ามีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด นอกจากนี้ค่าความเอียงสามารถแยกกิจกรรมการทำงานของเลื่อยโซ่ยนต์ได้อย่างชัดเจน การทดสอบวัดค่าแรงสั่นสะเทือนขณะใช้งานเลื่อยโซ่ยนต์ล้มไม้จำนวน 2 ชนิด คือไม้ประดู่ป่าและหมีเหม็น พบว่า แรงสั่นสะเทือนในการตัดต้นประดู่ป่ามีค่าแรงสั่นสะเทือนเฉลี่ย 9.9 m/s2 และต้นหมีเหม็นเฉลี่ย 8.9 m/s2 จากค่าเฉลี่ยเห็นว่าไม้ประดู่ป่าซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งมีค่าแรงสั่นสะเทือนมากกว่าไม้หมีเหม็นที่เป็นไม้เนื้ออ่อน แสดงให้เห็นว่าค่าแรงสั่นสะเทือนของเลื่อยโซ่ยนต์อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดไม้และปัจจัยอื่น เช่น ความคมของฟันเลื่อย ข้อมูลที่ตรวจวัดได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนในการจัดการสวนป่า ติดตามแผนการทำไม้ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของไม้ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ