ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป ระดับความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม ไปสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2563 รวมจำนวน 394 คน วิธีวิเคราะห์ ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติที ( t-test) และสถิติเอฟ ( F-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ไว้ที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวที่ทำการศึกษาเป็นเพศชายและเพศหญิง ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 31 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี/ปริญญาโทหรือสูงกว่า อาชีพหลัก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท/องค์กรเอกชน มีรายได้ของครัวเรือนรวมเฉลี่ย 834,907.66 บาท/ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง ส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์การท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อน/พักฟื้น มีลักษณะการพักแรมเป็นเต็นท์เช่าของอุทยานแห่งชาติ ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.14 นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ส่วนการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว และความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Kajonsilp, B. 2006. Research statistics (9th printing). Nonthaburi: PS Printing House. Print. (in Thai)
Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 16(3): 297-334.
Jeenapak, V., Piriyapoen, T., Vornthong.and, S. 2021. Domestic tourists satisfaction towards the Erawan National Park in Kanchanaburi. Journal of Faculty of Physical Education 15(2): 38-47. (in Thai)
Kuder, G.F., Richardson, M.W. 1937. The Theory of the estimation of test reliability. Psychometrika 2(3): 151-160.
Luan Saiyot and Angkana Saiyot. (1997). Research Statistics. (3rd edition). Department of Educational Measurement and Research Faculty of Education Srinakarinwirot University Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)
Office of National Park. 2003. National Park Management Administration Material in Seminar Province Environment and Resource. Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Council. 2006. The plan for national economic and social development of the 10 (2007 – 2011). The Prime Minister’s Office, Bangkok. (in Thai)
Ramkhamhaeng National Park, 2003. Master Plan Management Area Ramkhamhaeng National Park Sukhothai Province. Office of National Park Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. ( in Thai)
Ramkhamhaeng National Park, 2020. Summary of income statistics tourist statistics Ramkhamhaeng National Park (checkpoint), Sukhothai Province, fiscal year 2020. Office of National Park. Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. ( in Thai)
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed., Harper International Edition, Tokyo.