การใช้วิธีการชักตัวอย่างแบบจุดในการสำรวจเพื่อประเมินปริมาณไม้ในสวนป่า : กรณีศึกษาสวนป่าไม้พะยูง จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยวิธีการชักตัวอย่างแบบจุด (point sampling) เพื่อประเมินปริมาณไม้ในป่ามีความสะดวกมากกว่าการสำรวจแบบวางแปลงตัวอย่าง (plot sampling) เนื่องจากไม่ต้องวัดขนาดของแปลงตัวอย่าง อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องเลือกค่าคงที่ของเครื่องมือหรือค่าแฟคเตอร์พื้นที่หน้าตัด (basal area factor, BAF) ของวิธีการชักตัวอย่างแบบจุดให้เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ BAF ขนาดต่าง ๆ สำหรับประเมินปริมาณไม้ในสวนป่าไม้พะยูง ณ สวนป่าท่ากุ่ม โนโบรุ อุเมดะ จังหวัดตราด ด้วยเครื่องมือ Wedge prism ขนาด BAF 1, 2, 3 และ 4 ในสวนป่าไม้พะยูงเนื้อที่ทั้งหมด 450.98 ไร่ โดยสวนป่าแบ่งออกเป็น 3 ชั้นอายุ ได้แก่ อายุ 38, 41 และ 42 ปี (แสดงถึงขนาดและความหนาแน่นของต้นไม้ที่แตกต่างกัน) มีเนื้อที่ 102.41, 198.10 และ 150.47 ไร่ ตามลำดับ ทำการสำรวจทั้งหมด 42 จุดสุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบขนาดพื้นที่หน้าตัดไม้ต่อเฮกตาร์จากการสำรวจด้วยการชักตัวอย่างแบบจุดที่ใช้เครื่องมือขนาด BAF ต่าง ๆ กับขนาดพื้นที่หน้าตัดไม้จากการสำมะโนประชากร
ผลการศึกษาพบว่า ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม้เฉลี่ยต่อเฮกตาร์ของ BAF ที่ 1, 2, 3 และ 4 มีค่าแตกต่างจากค่าประชากรอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และยังพบว่า BAF ที่ 1 มีความเหมาะสมในการสำรวจสวนป่าที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย 25.32 - 29.32 เซนติเมตร และความหนาแน่นของหมู่ไม้ 130 - 137 ต้นต่อเฮกตาร์ ส่วนขนาด BAF ที่ 2, 3 และ 4 มีความเหมาะสมสำหรับสวนป่าที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 26.41 - 30.09 เซนติเมตร และความหนาแน่น 129 - 133 ต้นต่อเฮกตาร์ โดยผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อเลือกใช้ขนาด BAF ที่เหมาะสมในการสำรวจเพื่อประเมินปริมาณไม้ในพื้นที่สวนป่าอื่น ๆ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความหนาแน่นของหมู่ไม้ที่คล้ายคลึงกัน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”