ประสิทธิภาพการทำงานของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงและเลื่อยยนต์แบตเตอรี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการทำงานของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงและเลื่อยยนต์แบตเตอรี่ โดยเปรียบเทียบใน 3 ด้านดังนี้ 1) ความเร็วของเลื่อยยนต์ 2) ระดับเสียง และ 3) แรงสั่นสะเทือน ทำการทดสอบกับไม้ยูคาลิปตัสแห้งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เซนติเมตร ในการทดลอง 1 ซ้ำจะทอนไม้ทั้งหมด 10 แว่น และทำซ้ำทั้งหมด 3 ซ้ำ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่างโดยวิธีการ Independent – Samples t-test ผลการศึกษาพบว่าเลื่อยยนต์แบตเตอรี่จะใช้เวลาเฉลี่ยต่อรอบของการตัดทอนไม้น้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.033) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.57 และ 12.90 วินาที ตามลำดับ ส่วนระดับเสียงจากการปฏิบัติงานของเลื่อยยนต์แบตเตอรี่จะเบากว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.001) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 81.25 และ 94.65 dB(A) ตามลำดับ โดยระดับเสียงเฉลี่ยของเลื่อยยนต์แบตเตอรี่มีน้อยกว่าระดับเสียงเฉลี่ยของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 15% ระดับแรงสั่นสะเทือนจากการปฏิบัติงานของเลื่อยยนต์แบตเตอรี่จะน้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.001) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.19 และ 1.30 เมตร/วินาที2 ตามลำดับ โดยเลื่อยยนต์แบตเตอรี่มีแรงสั่นสะเทือนที่น้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 7 เท่า จากผลการศึกษาเห็นว่าเลื่อยยนต์แบตเตอรี่สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าและได้รับผลกระทบด้านระดับเสียงและแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Aggie Home. 2017. Chainsaws. Available source: https://www.aggiehomemart. com/, March 22, 2020. (in Thai)
Colantoni, A., Mazzocchi, F., Cossio, F., Cecchini, M., Bedini, R., Monarca D. 2016. Comparisons between battery chainsaws and internal combustion engine chainsaws: performance and safety. Contemporary Engineering Sciences 9(27): 1315-1337.
Kowanich, A. 1983. Rural Forestry Tools. Third Edition, The Forestry Association of Thailand, Bangkok. (in Thai)
Showbull. 2018. The Working Principle of Chainsaw. Available source: http:// www.cnshowbull.com/info/theworking-principle-of-chainsaw-24939164. html , March 11, 2020.
Stihl. 2018. STIHL Product. Available source: https://www.stihl.com, March 22, 2020.
Suetrong, W. 2016. Comparison of Noise Pollution of Chainsaws with Different Horsepower in the Process of Falling. Department of Forest Engineering, Kasetsart University. (in Thai)
Thai Safety Wiki. 2013. Hearing Protection. Available source: http://www.thai-safetywiki.com, December 25, 2020.
Watchapan, C. 2016. Sensor Testing Set for Tool Wear Monitoring with Vibration Signals. M.E. Thesis, Thai-Nichi Institute of Technology. (in Thai)