ผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการให้น้ำท่า ของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำควน และลุ่มน้ำสาขาน้ำปี้ จังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและน้ำท่า และผลของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการให้น้ำท่าของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำควนและลุ่มน้ำสาขาน้ำปี้ จังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา โดยใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6 ปี ได้แก่ ปี พ.ศ. 2544, 2550, 2552, 2555, 2558 และ 2561 ข้อมูลด้านอุตุ-อุทกวิทยา 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2562 นำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำท่า การให้ปริมาณน้ำท่าต่อขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำ และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินกับน้ำท่า ผลการวิจัยพบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2561 พื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำควนและลุ่มน้ำสาขาน้ำปี้ ลดลงเท่ากับร้อยละ 11.38 และ 4.9 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนพื้นที่ชุมชนและแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำควนและลุ่มน้ำสาขาน้ำปี้มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 398.08 และ 167.95 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณการให้น้ำท่าต่อหน่วยพื้นที่เท่ากับ 457,170.34 และ 255,815.25 ลูกบาศก์เมตร/ปี/ตารางกิโลเมตร และมีสัมประสิทธิ์น้ำท่าเท่ากับ 0.41 และ 0.25 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินกับปริมาณน้ำท่า พบว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากพื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำท่า ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมีมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Baiku, P., Tongdeenok, P., Kaewjampa N. 2021. Application of SWAT and CLUE-S models in streamflow and land use prediction in the upper Khwae-Noi subwatershed, Nakhonthai district, Phitsanulok province. Thai Journal of Forestry 40(2): 39-55. (in Thai)
Budhakooncharoen, S. 2003. Engineering Hydrology. Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Mahanakorn University of Technology, Bangkok. (in Thai)
Chankaew, K. 2008. Principles of Watershed Management. Department of Conservation, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Chorley, R.J. 1971. Introduction to Physical Hydrology. Methuens Co, Ltd., London.
Onarsa, S., Boonsaner, A., Chanthiwongsa, S., Kijkhayhan, S., Phuenda, J., Onarsa, C., Netrabutra, K., Buddhawongsa, M. 2014. Potential Streamflow of Various Forest Types in Thailand. Watershed Research, Watershed Conservation and Management Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai)
Tangtham, N., Yuwananont, S. 1996. Impact of land use changes on streamflow and flow characteristics of Pasak basin. Thai Journal of Forestry 15: 98-110. (in Thai)
Thongduang, J. 2003. Impacts of Land Use Changes and Water Consumption on Water Balance and Flow Characteristics of Yom River Basin. Ms. thesis, Faculty of Forestry, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Vanhnasin, K., Niyom, W., Chuchip, K. 2012. Effect of rainfall and land use changes on potential stream flow of upper Nam Ngum River basin, Lao PDR. Thai Journal of Forestry 32(2): 58-69. (in Thai)