การเปรียบเทียบการทอนไม้สองวิธีที่หมอนไม้ กรณีศึกษาไม้ยางพารา ในพื้นที่จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการทอนไม้ด้วยวิธีการทอนไม้แบบเดิมหรือแบบไม่มีหมอนรองด้านล่าง กับวิธีการทอนไม้แบบมีหมอนรองด้านล่าง และศึกษาความสัมพันธ์ของเวลาในการทอนไม้กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การทอนไม้แบบไม่มีหมอนรองด้านล่างคือไม้ยางพาราจะถูกชักลากมาวางเรียงไว้กับพื้นบริเวณหมอนไม้แล้วใช้เลื่อยยนต์ในการตัดทอนไม้ตามตำแหน่งที่ได้หมายวัดไว้ซึ่งต้องใช้คนช่วยในการงัดไม้เพื่อให้ตัดท่อนไม้ให้ขาด ส่วนการทอนไม้แบบมีหมอนรองด้านล่างเป็นการทอนไม้ที่แนะนำโดยวางไม้ยางพาราบนไม้หมอนที่เตรียมไว้เพื่อยกไม้ยางพาราให้ห่างจากพื้นดิน เก็บข้อมูลการศึกษาระยะเวลาในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ จำนวนท่อนไม้ ความยาวของท่อนไม้ และจำนวนรอยเลื่อยที่สวนยางพาราในจังหวัดชุมพร ผลการศึกษาพบว่าในการทอนไม้มีงานย่อย 4 งานย่อย คือ การกระจายแพไม้ การทอนกิ่งไม้ฟืน การหมายวัดไม้ และการทอนไม้ ค่าเฉลี่ยเวลาการทำงานในงานย่อยการกระจายแพไม้และการทอนไม้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการกระจายแพไม้แบบเดิมจะใช้เวลาน้อยกว่าแบบมีหมอนรองด้านล่าง แต่การทอนไม้แบบมีหมอนรองด้านล่างจะใช้เวลาน้อยกว่า ผลิตภาพในการใช้เลื่อยยนต์ในเฉพาะขั้นตอนทอนไม้ที่ไม่รวมเวลาที่ก่อให้เกิดงานล่าช้าเท่ากับ 13.934 และ 19.322 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ
คำสำคัญ: การทอนไม้ หมอนไม้ ไม้ยางพารา ระยะเวลาการทอนไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Kaakkurivara, N. 2015. Glossary of Logging Terminology Handbook. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Lotfalian, M., Abbasi, E., Hosseini, S.A. 2016. Productivity and cost of tree bucking with a chainsaw in Caspian forests. Biological Forum – An International Journal, 8(2): 16-21.
Rianthakool, L., Sakai, H. 2014. Short wood harvesting and pickup transportation during regeneration of rubber plantation. Bull. Univ. of Tokyo For., 130: 45-58.
Rubber Authority of Thailand. 2015. Plan for Long-term Management of Rubber Plantations. Available source: http://www.rubber.co.th/download/FSC/a03.pdf, 7 February 2021. (in Thai)
Saarilahti, M., Isoaho, P. 1992. Handbook for Ox Skidding Research. Helsinki, The Finnish Forest Research Institute, p. 442.
The pro cutter. 2022. How to Cut Logs with a Chainsaw: The Right Way. Available source:https://theprocutter.com/how-to-cut-logs-with-a-chainsaw/, 3 March 2022.