ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในจังหวัดแพร่ที่มีต่อ โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริฯ

Main Article Content

อรประภัสร์ สร้อยเสนา
ต่อลาภ คำโย
ปัญจพร คำโย
อิสรีย์ ฮาวปินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริ ในจังหวัดแพร่ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ครัวเรือน พื้นที่ 8 อำเภอ และวิเคราะห์ปัจจัยด้วยค่าสถิติ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 46-55 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ประชาชนมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติพบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชน พบว่าปัจจัยด้านอาชีพหลัก (p<0.001) อาชีพรอง (p<0.05) ที่ต่างกันมีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้ต่อเดือน รายจ่ายต่อเดือน และการเข้าร่วมโครงการฯ ที่ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจไม่แตกต่างกัน และพบว่าการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับทัศนคติของประชาชน พบว่าปัจจัยด้านอาชีพหลัก (p<0.05) อาชีพรอง (p<0.001) รายได้ต่อเดือน (p<0.05) รายจ่ายต่อเดือน (p<0.001) การเข้าร่วมโครงการฯ (p<0.001) ที่ต่างกันมีทัศนคติแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา ที่ต่างกัน มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน และพบว่าการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการฯ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับระดับทัศนคติ (r=0.417) (p<0.001) นอกจากนี้การดำเนินโครงการมีปัญหาจากสภาวะความแห้งแล้งมากที่สุดและมีอุปสรรคสำคัญจากปัญหาภัยธรรมชาติ ดังนั้นประชาชนจึงมีความต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมด้านแหล่งน้ำและด้านการตลาด


คำสำคัญ: ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริฯ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Cronbach, L.J. 1970. Essentials of Psychological Testing. Harper and Row, New York.

Kwayapanik, S., Trimongkol, W. 2002. A Study of People's Attitudes towards Planting Trees in the Historical City of Ayutthaya: A Case Study of Ayutthaya Municipality Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)

Le, H.D., Smith, C., Herbohn, J., Harrison, S. 2012. More than just trees: assessing reforestation success in tropical developing countries. Journal of Rural Studies, 28: 5-19.

Nilsodsai, T. 2011. Factors Affecting Knowledge and Innovation about Energy Conservation of Samitivej Srinakarin Hospital. Faculty of Social Development and Environment, National Institute of Development Administration, Bangkok. (in Thai)

Pati, A. 2016. Knowledge, Understanding and Opinions of Local People towards Homeless People Protection: A case study of People in Pha Sing Sub-district, Mueang District, Nan Province. Faculty of Social Administration, Thammasat University, Bangkok. (in Thai)

Royal Forest Department, 2019. Annual Report 2019 Royal Forest Department. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok. (in Thai)

Royal Forest Department, 2020. Annual Report 2020 Royal Forest Department. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok. (in Thai)

Strategic and Information Work Group for Provincial Development Phrae Provincial Office, 2021. Documents for the Workshop for the Preparation of the Phrae Provincial Development Plan 2023-2027 and the Annual Government Action Plan of Phrae Province. Fiscal Year 2021, Phrae. (in Thai)

Wittayakiatlert, N. 2017. Knowledge and Understanding in the Philosophy of Sufficiency Economy of Official in Nongpho Ratchaburi Dairy Cooperative Limited (Under the Royal Patronage). Faculty of Social Sciences, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Harper and Row, New York.