การวิเคราะห์ทางการเงินของการปลูกบุกในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ทางการเงินของการปลูกบุกในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ปลูกบุกจำนวน 98 ชุด สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด โดยใช้ตัวชี้วัดความเหมาะสมของโครงการ 3 วิธี คือ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนภายใน ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 3 5 7 และ 9 อายุโครงการ 2 3 และ 4 ปี
จากการศึกษาพบว่าราษฎรผู้ปลูกบุกมีอายุเฉลี่ย 45.46 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 79.59 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 85.71 มีรายได้และรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 87,678.14 และ 61,098.02 บาทต่อปี มีรูปแบบการปลูกบุก 8 รูปแบบ มี 5 รูปแบบของการปลูกบุกที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ณ ระดับอัตราส่วนลดที่ร้อยละ 3 5 7 และ 9 คือ 1) การปลูกบุกแบบเชิงเดี่ยว อายุโครงการ 3 ปี 2) การปลูกบุกแบบเชิงเดี่ยว อายุโครงการ 4 ปี 3) การปลูกบุกร่วมกับกล้วยน้ำว้า อายุโครงการ 2 ปี 4) การปลูกบุกร่วมกับกล้วยน้ำว้า อายุโครงการ 3 ปี และ 5) การปลูกบุกร่วมกับกล้วยน้ำว้า อายุโครงการ 4 ปี โดยมีค่า NPV มากกว่า 0 ค่า B/C มากกว่า 1 และ ค่า IRR มากกว่าอัตราส่วนลดที่กำหนดไว้ การปลูกบุกร่วมกับกล้วยน้ำว้า อายุโครงการ 4 ปี มีค่า NPV สูงสุดในทุกอัตราส่วนลดที่กำหนด ซึ่งจะให้ผลตอบแทนดีที่สุด
คำสำคัญ : การวิเคราะห์ทางการเงิน, บุก, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ, จังหวัดตาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Krejcie, R.V., Morgan, D.W. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Mianmit, N., Pothitan, R., Jindawong, K. 2019. Management and Sustainable Use of Forest Resources of the Lerto Royal Project Development Center, Tak Province. Faculty of Forestry, Kasetsart University: Bangkok. (in Thai)
Muengsuk, S. 2019. "Konjac" Sop Moei farmers' Money-making Plants, Mae Hong Son Province. Retrieved from http://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_95709, 5 December 2019. (in Thai)
Prowmasorn, P., Suksard, S., Jarusombuti, S., Sriarkarin, S., Chuntachot, C. 2020. Yield assesment and financial analysis of Chukrasia tabularis A.Juss. at Prachuap Khiri Khan Silvicultural
Research Station, Prachuap Khiri Khan province. Thai Journal of Forestry, 39(2): 126-136. (in Thai)
Reader's Digest. 2000. Know the Benefits and Harms of Nutrition (Vol. 2). Readers Digest (Thailand), Co., Ltd.: Bangkok. (in Thai)
Rouarut, K. 2021. "Konjac" but not Invading the Forest. Retrieved from https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/141, 27 September 2021. (in Thai)
Royal Forest Department. 2020. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn went to a Botanical Garden Area, Project to Promote Learning for Environmental Conservation and Restoration. Retrieved from http://www.forest.go.th/blog/2019/12, 6 March 2020. (in Thai)
Subansenee, W. 1996. Non-Wood Forest Products in Thailand. Forest Research and Development Office, Bangkok. (in Thai)
Suksard, S. 2003. Forest Valuation. Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart University: Bangkok. (in Thai)
Suksard, S., Norkaew, A., Pattaratuma, A. 2019. The application of value chain concept on value added of Amorphophallus muelleri Blume products for highland people in Tak province. Thai Journal of Forestry, 38(2): 152-165. (in Thai)