การประเมินผลผลิตและการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของไม้กระถินเทพา อายุ 6 ปี ในสถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการปริมาตรไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากการปลูกไม้กระถินเทพา อายุ 6 ปี ณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ตัวชี้วัดความเหมาะสมทางการเงินของโครงการ 3 ดัชนี ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (net present value: NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (benefit-cost ratio: B/C) และอัตราผลตอบแทนภายใน (internal rate of return: IRR) โดยกำหนดอัตราคิดลดร้อยละ 3, 5, 7 และ 9 รวมไปถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการผ่านการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนของต้นทุน (switching value test of cost) และความแปรเปลี่ยนของผลประโยชน์ (switching value test of benefit)
ผลการศึกษาพบว่าสมการปริมาตรไม้กระถินเทพา อายุ 6 ปี ที่ทำเป็นสินค้าได้ คือ log(VM) = -3.45991 + 2.044011 log(DBH) หรือ VM = 0.00035 DBH2.04401 มีค่า R2 = 0.943 มีปริมาตรไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้เท่ากับ 11.32910 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ หรือ 9.28 ตันต่อไร่ ตลอดอายุการปลูก 6 ปี การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินที่อัตราคิดลดร้อยละ 3, 5, และ 7 พบว่ามีค่า NPV มากกว่า 0 ค่า B/C มากกว่า 1 และค่า IRR มากกว่าอัตราคิดลดที่กำหนด แสดงว่าการปลูกไม้กระถินเทพาได้รับผลตอบแทนทางการเงินที่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่จะพบการขาดทุนเมื่อวิเคราะห์ทางการเงินที่อัตราคิดลดร้อยละ 9 ส่วนการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนของต้นทุนและค่าความแปรเปลี่ยนของผลประโยชน์ ณ อัตราคิดลดร้อยละ 3, 5 และ 7 พบว่ามีค่าค่อนข้างต่ำ แสดงว่าการลงทุนปลูกไม้กระถินเทพาอายุ 6 ปี ค่อนข้างมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้นทุนในการปลูกไม้กระถินเทพาเพิ่มขึ้น หรือ รายรับจากการปลูกไม้กระถินเทพาลดลงจากแผนการลงทุน
คำสำคัญ: สมการปริมาตรไม้ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ความเสี่ยง กระถินเทพา สวนป่า
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. 2022. Loan Rate. Available source: https://www.baac.or.th/th/content-rate.php?content_group=9&content_group_sub=2&inside=1, 14 June 2022. (in Thai)
Bank of Thailand. 2022a. Loan Interest Rate of Commercial Banks. Available source https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx, 7 July 2022. (in Thai)
Bank of Thailand. 2022b. Monetary Policy Report Quarter 2: Issued June 2022. Available source https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/DocLib/MPRthai_June2565_vp8xg3.pdf, 3 July 2022. (in Thai)
Faculty of Forestry. 2011. A Guidebook of Potential of Plant Species for Promotion under the Clean Development Mechanism Program in the Forest Sector. Aksorn Siam Partnership Limited, Bangkok.
Faculty of Forestry. 2017. Wang Nam Khiao Forestry Research and Student Training Station. Available source: http://www.forest.ku.ac.th/camp/campwk.pdf, 6 June 2022. (in Thai)
Jumwong, N. 2006. Site Potentail Evaluation of Acacia Mangium Willd. Plantation Area in Trat Province, Thailand. M.Sc. thesis, Faculty of Forestry, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Krisnawati, H., Kallio, M., Kanninen, M. 2011. Acacia mangium Willd.: Ecology, Silviculture and Productivity. Center for International Forestry Research (CIFOR), Bogor.
Mua, L. 2006. The Yield and Financial Analysis of Industrial Plantation: A Case Study of Eucalyptus camaldulensis and Acacia mangium Plantation at Ladkrathing Plantation in Chachoengsao Province. M.Sc. thesis, Faculty of Forestry, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Private Forest Division. 2014. Purchase Prices for Teak, Eucalyptus, Bamboo, and Acacia mangium. Available source: http://forestinfo.forest.go.th/pfd/km3-1.aspx, 3 July 2022. (in Thai)
Prowmasorn, P., Suksard, S., Jarusombuti, S., Sriarkarin, S., Chuntachot, C. 2020. Yield assessment and financial analysis of Chukrasia tabularis A. Juss. at Prachuap Khiri Khan Silvicultural Research Station, Prachuap Khiri Khan province. Thai Journal of Forestry, 39(2): 126-136. (in Thai)
Royal Forest Department. 2005. The Thai Hardwoods. 3rd printing. Sukhumvit Media Marketing Co., Ltd., Bangkok. (in Thai)
Royal Forest Department. 2013. Acacia mangium Willd. Available source: http://forestinfo.forest.go.th/pfd/Files/FileEBook/EB1.pdf, 14 June 2022. (in Thai)
Royal Forest Department. 2019. Public Guide: Economic Trees Planting. Available source: http://forestinfo.forest.go.th/
pfd/Download/DL344.pdf, 14 June 2022. (in Thai)
Royal Thai Government. 2021. The Ministry of Agriculture Accelerates the Way Forward for Sustainable Stability for Farmers with Biomass Power Plants. Available source: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39259, 6 June 2022. (in Thai)
Suksard, S. 2003. Forest Valuation. Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Sukwong, S. 2009. Method of creating regression model in forest research. Journal of Forest Management, 3(5): 89-98. (in Thai)
Visuthitepkul, S. 1998. Quality of sawntimber Acacia Mangium Willd. from planting by agro-forestry practices. Thai Journal of Forestry, 17(1): 61-74. (in Thai)