สังคมของนกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่

Main Article Content

อานนท์ เชื้อไพบูลย์
ประทีป ด้วงแค
อุทิศ กุฏอินทร์
ศุภชัย วรรณพงษ์

บทคัดย่อ

             การศึกษาสังคมของนกในอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด ความชุกชุม ความหนาแน่น ความหลากหลาย ความสม่ำเสมอ ความคล้ายคลึง และสภาพพื้นที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของนก โดยได้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ทำการสำรวจนกด้วยวิธี point count


              ผลการศึกษาพบว่า พบนกทั้งสิ้น 16 อันดับ 53 วงศ์ 114 สกุล 172 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 134 ชนิด นกอพยพ 33 ชนิด นกอพยพผ่าน 3 ชนิด และนกอพยพมาทำรังวางไข่ 2 ชนิด เส้นทางสำรวจที่มีความหลากชนิดของนกมากที่สุดคือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติหล่มด้ง - จุดชมวิวทะเลหมอก สำรวจพบนก 125 ชนิด ความชุกชุมของนก แบ่งออกเป็น 4 ระดับ มีความชุกชุมมาก 35ชนิด ความชุกชุมปานกลาง 12 ชนิด ความชุกชุมน้อย 38 ชนิด ความชุกชุมน้อยมาก 40 ชนิด ความหนาแน่นของนก มากที่สุด คือ  เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งน้ำร้อน มีค่าเฉลี่ย 53 ตัว/เฮคแตร์ ความหลากหลายของนกในช่วงนอกอพยพมีค่าเท่ากับ 2.21 ช่วงอพยพมีค่าเท่ากับ 2.33 และรวมทั้งปีมีค่าเท่ากับ 2.32 โดย เส้นทางศึกษาธรรมชาติหล่มด้ง - จุดชมวิวทะเลหมอก และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดสกัดป่าสนยักษ์ มีค่าความหลากหลายของนกรวมทั้งปีมากที่สุดเท่ากับ 2.24 ความสม่ำเสมอของนก ในช่วงนอกอพยพมีค่าเท่ากับ 0.86 ช่วงอพยพ และรวมทั้งปีมีค่าเท่ากัน คือ 0.90 โดย เส้นทางศึกษาธรรมชาติหล่มด้ง - จุดชมวิวทะเลหมอก และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดสกัดป่าสนยักษ์ มีค่าความสม่ำเสมอของนกรวมทั้งปีมากที่สุดเท่ากับ 0.87 สภาพพื้นที่อยู่อาศัยแบ่งได้เป็น 4 ชนิดป่า คือป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้ง ความคล้ายคลึงของนกระหว่างชนิดป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้งมีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 75.91  และค่าความคล้ายคลึงของนกระหว่างป่าผสมผลัดใบ และป่าสนเขา มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 22. 35

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

ศุภชัย วรรณพงษ์, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อุทยานแห่งชาติแม่ยม